symp

ความเป็นมา



ภาพเหตุการณ์วันที่ 10 ธันวาคม 2475


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

คณะราษฎรและประชาชนเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

การอัญเชิญรัฐธรรมนูญออกจัดแสดงที่บริเวณปะรำพิธี
ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

การยิงสลุตเฉลิมฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญภายในบริเวณสนามเสือป่า
ติดกับลานพระราชวังดุสิต

งานเฉลิมฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ

ประชาชนที่มาร่วมงานเฉลิมฉลองต่างส่งเสียงโห่ร้องแสดงความยินดี

ข่าวในพระราชสำนัก วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475


(สไลด์เพื่อดูภาพและดาวน์โหลด)



รัฐธรรมนูญสมุดไทย






นับแต่ประเทศไทยได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ปี 2475 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ
แต่รัฐธรรมนูญที่มีการจารึกหรือเขียนลงในสมุดไทยนั้น จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านการร่างโดยกระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งมีจำนวน 11 ฉบับ
ส่วนฉบับที่ประกาศใช้เป็นการชั่วคราว อันเนื่องมาจากการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินนั้นจะไม่มีการจารึกหรือเขียนลงในสมุดไทย ซึ่งมีจำนวน 9 ฉบับ

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

1

การจัดทำรูปเล่มสมุดไทย

สมุดไทยขนาด กว้าง 13.4 ซม. ยาว 45.5 ซม. ความหนาจะขึ้นอยู่กับบทบัญญัติที่ตราขึ้น

2

การเขียนและการตรวจทาน

เจ้าหน้าที่ลิขิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เขียนรัฐธรรมนูญ

3

การตกแต่งรูปเล่ม

กรมศิลปากรลงรักปิดทองรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย



4

การติดพระครุฑพ่าห์

กรมธนารักษ์จัดทำพระครุฑพ่าห์ กรมศิลปากรทำหน้าที่ติดพระครุฑพ่าห์บนปกรัฐธรรมนูญ



5

การลงพระปรมาภิไธย

นายกรัฐมนตรี หรือประธานรัฐสภา เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ



6

การประทับตราพระราชลัญจกร

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประทับตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ มหาโองการ หงส์พิมาน และไอราพต (องค์ใหญ่)



เส้นทางรัฐธรรมนูญ




  • ที่มาของรัฐธรรมนูญตั้งแต่ พ.ศ.2475 - ปัจจุบัน

  • 27 มิถุนายน 2475

    ฉบับที่ 1 : พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง

    แผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

    จำนวน 39 มาตรา

    คณะราษฎรยกร่างและนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 5 เดือน 13 วัน

  • 10 ธันวาคม 2475

    ฉบับที่ 2 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม

    พุทธศักราช 2475

    68 มาตรา

    คณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งคณะกรรมการราษฎรตั้งขึ้น จัดทำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 13 ปี 4 เดือน 29 วัน

  • 9 พฤษภาคม 2489

    ฉบับที่ 3 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2489

    96 มาตรา

    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 เสนอญัตติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 1 ปี 6 เดือน

  • 9 พฤศจิกายน 2490

    ฉบับที่ 4 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

    98 มาตรา

    คณะรัฐประหารภายใต้การนำของ พลโท ผิน ชุณหะวัณ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 13 ปี 4 เดือน 29 วัน

  • 23 มีนาคม 2492

    ฉบับที่ 5 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2492

    189 มาตรา

    สภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2490 จัดทำขึ้น แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 2 ปี 8 เดือน 6 วัน

  • 8 มีนาคม 2495

    ฉบับที่ 6 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

    123 มาตรา

    คณะรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 มาใช้บังคับใหม่ โดยให้สภาผู้แทนราษฎรแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ขึ้น แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 6 ปี 7 เดือน 12 วัน

  • หลัง 2500

  • 28 มกราคม 2502

    ฉบับที่ 7 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

    พุทธศักราช 2502

    20 มาตรา

    คณะรัฐประหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 9 ปี 4 เดือน 23 วัน

  • 20 มิถุนายน 2511

    ฉบับที่ 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2511

    183 มาตรา

    สภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้จัดทำ แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 3 ปี 4 เดือน 28 วัน

  • 15 ธันวาคม 2515

    ฉบับที่ 9 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

    พุทธศักราช 2515

    23 มาตรา

    คณะรัฐประหารภายใต้การนำของ จอมพล ถนอม กิตติขจร นำเอาธรรมนูญการปกครองอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาแก้ไขปรับปรุงใหม่แล้วประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 1 ปี 9 เดือน 21 วัน

  • 7 ตุลาคม 2517

    ฉบับที่ 10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2517

    238 มาตรา

    คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จัดทำขึ้นโดยนำเอารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 มาเป็นแนวทางในการยกร่าง เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา เมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 3 ปี 4 เดือน 28 วัน

  • 22 ตุลาคม 2519

    ฉบับที่ 11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2519

    29 มาตรา

    คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินทำการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 1 ปี 18 วัน

  • 9 พฤศจิกายน 2520

    ฉบับที่ 12 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

    พุทธศักราช 2520

    32 มาตรา

    คณะรัฐประหารนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 1 ปี 1 เดือน 13 วัน

  • 22 ธันวาคม 2521

    ฉบับที่ 13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2521

    23 มาตรา

    คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา เมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 12 ปี 2 เดือน 1 วัน

  • 1 มีนาคม 2534

    ฉบับที่ 14 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร

    พุทธศักราช 2534

    33 มาตรา

    คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 9 เดือน 8 วัน

  • 9 ธันวาคม 2534

    ฉบับที่ 15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2534

    223 มาตรา

    คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา เมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 5 ปี 10 เดือน 2 วัน

  • 11 ตุลาคม 2540

    ฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2540

    336 มาตรา

    สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น เสนอให้รัฐสภาพิจารณา เมื่อให้ความเห็นชอบแล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 8 ปี 11 เดือน 9 วัน

  • 1 ตุลาคม 2549

    ฉบับที่ 17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

    39 มาตรา

    คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 10 เดือน 24 วัน

  • 24 ตุลาคม 2550

    ฉบับที่ 18 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2550

    309 มาตรา

    สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากลงประชามติเห็นชอบแล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 6 ปี 6 เดือน 28 วัน

  • 22 พฤษภาคม 2557

    ฉบับที่ 19 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

    48 มาตรา

    คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จัดทำขึ้น แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

    รวมระยะเวลาที่ใช้บังคับ 2 ปี 10 เดือน 6 วัน

  • ฉบับปัจจุบัน

  • 6 เมษายน 2560


    ฉบับที่ 20 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    พุทธศักราช 2560

    279 มาตรา

    คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากลงประชามติเห็นชอบ แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้

การแก้ไขเพิ่มเติม




การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นการปรับปรุงเพื่อให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ซึ่งมีความแตกต่างและทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายทั่วไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

การแก้ไขเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475





(กดที่รูป เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร)



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 มีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 ครั้ง คือ

รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2482

รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล พุทธศักราช 2483 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2983

รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2485
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2485



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 มีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 ครั้ง คือ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2490
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2490 แก้ไขวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  (ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ 2) พ.ศ. 2491
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2491 แก้ไขเรื่องกำหนดเวลาในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2491
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2491 แก้ไขเรื่องการให้เอกสิทธิคุ้มครองแก่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 มีการแก้ไขเพิ่มเติม 1 ครั้ง คือ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2518 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2518
แก้ไขให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาแทนประธานองคมนตรี

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521


ในระหว่างการใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ได้มีการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาแล้วถึง 7 ครั้ง รวมร่างที่เสนอแก้ไข 10 ฉบับ แต่มี 2 ครั้งที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ดังนี้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2528
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2528 แก้ไขวิธีการเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2532
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2532 แก้ไขเกี่ยวกับประธานรัฐสภาและการประชุมร่วมกันของสภา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มีการแก้ไขเพิ่มเติม 6 ครั้ง ดังนี้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 แก้ไขเกี่ยวกับประธานรัฐสภาและรองประธานสภา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2535
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 แก้ไขเกี่ยวกับการประชุมสภา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2535
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 แก้ไขเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2535
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2535 แก้ไขให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2535
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538 แก้ไขเพิ่มเติมส่วนสำคัญเกือบทั้งฉบับ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2539 แก้ไขให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีการแก้ไขเพิ่มเติม 1 ครั้ง คือ

รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2548 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2548
แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหากรรมการ ปปช.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีการแก้ไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง คือ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 แก้ไขระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แนราษฎร (ส.ส.)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2554
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 แก้ไขข้อกำหนดในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มีการแก้ไขเพิ่มเติม 4 ครั้ง คือ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2558 เพื่อกำหนดวิธีการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 แก้ไขเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2559
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 แก้ไขจำนวนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2560
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2560 แก้ไข 2 ประเด็น คือ
1) ถ้าพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้
2) เมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย หากพระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกตว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใด ให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมา เพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นตามข้อสังเกตนั้น แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายใหม่

เกร็ดความรู้

หลากหลายเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

symp

"ใช้บังคับสั้นที่สุด"

symp

"ใช้บังคับนานที่สุด"

symp

"มาตราน้อยที่สุด"

symp

"มาตรามากที่สุด"

symp

"ยกร่างนานที่สุด"

symp

"ฉบับชั่วคราว...ใช้ยาวนานที่สุด"

symp

"รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม"

symp

"ปาร์ตีลิสต์ครั้งแรก"

symp

"พฤฒสภา"

symp

"หน้าที่ของรัฐ"

symp

"ปฎิรูปประเทศ"

บททดสอบ



บททดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ 2560

และเรื่องราวเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าคุณพร้อมแล้ว ไปทดสอบกันเลย!!



symp

บททดสอบที่ 1 : ถอดรหัสรัฐธรรมนูญ 2560

  • 10 ธันวาคม 2563

| 1 | การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วน ใช่หรือไม่?


ก)   ใช่

ข)   ไม่ใช่


| 2 | ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง ใช่หรือไม่?


ก)   ใช่

ข)   ไม่ใช่


| 3 | รัฐต้องทำให้สิทธิของประชาชนเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ใช่หรือไม่?


ก)   ใช่

ข)   ไม่ใช่


| 4 | นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้ ใช่หรือไม่?


ก)   ใช่

ข)   ไม่ใช่


| 5 | รัฐธรรมนูญ 2560 มีแผนยุทธศาสตร์และปฏิรูปประเทศ ใช่หรือไม่?


ก)   ใช่

ข)   ไม่ใช่


| 6 | ก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน?


ก)   ใช่

ข)   ไม่ใช่

บททดสอบที่ 2 : แฟนพันธุ์แท้รัฐธรรมนูญ

  • 10 ธันวาคม 2563


บททดสอบว่าคุณรู้จักรัฐธรรมนูญไทย 20 ฉบับมากแค่ไหน กากบาทเรื่องราวที่คุณรู้ แล้วไปดูเฉลยกัน




symp