ของที่ระลึกจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี



ข้อมูล : กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ

เผยแพร่ : 20 / กุมภาพันธ์ / 2566

 

ความสัมพันธ์ของรัฐสภาไทย - รัฐสภาเยอรมนี



ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2405 โดยการทำสนธิสัญญาทางไมตรีการค้าและการเดินเรือระหว่างกัน ทั้งนี้ การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-เยอรมนี ดำเนินไปด้วยความราบรื่น มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ โดยทั้งสองฝ่ายต้องการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสาขาที่เยอรมนีเชี่ยวชาญ อาทิ พลังงานทดแทน การเกษตร เทคโนโลยีการรับมือกับภัยพิบัติ

ในส่วนความสัมพันธ์ของรัฐสภา ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับที่ดีต่อกัน ระดับทวิภาคี ในปี พ.ศ. 2536 รัฐสภาไทยได้จัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เยอรมนี (Thailand-Germany Parliamentarians Friendship Group) และ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2524 รัฐสภาเยอรมนี ได้จัดตั้งกลุ่มมิตรภาพรัฐสภาเยอรมัน-อาเซียน (Parliamentary Friendship Group for Relations with ASEAN States) เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของรัฐสภาเยอรมันและรัฐสภาอาเซียน สำหรับรัฐสภาไทยและรัฐสภาเยอรมันมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันตลอดมา นอกจากนี้ ในระดับพหุภาคี รัฐสภาทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ในรูปการเป็นภาคีสมาชิกสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU) ร่วมกันทั้งสองประเทศมีความร่วมมือในอันที่จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีการผสานความร่วมมือเพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนไปสู่ความสัมพันธ์อันยั่งยืน การพบปะกันระหว่างสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองประเทศกระทำในโอกาสที่คณะผู้แทนรัฐสภาทั้งสองประเทศเดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศในองค์กรดังกล่าว รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายนิติบัญญัติของเยอรมนี : เป็นระบบ 2 สภา ประกอบด้วย 1.) สภาผู้แทนราษฎร (Bundestag) มีสมาชิกจำนวน 709 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง วาระ 4 ปี ประธานสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และ 2.)สภามลรัฐหรือสภาสูง (Bundesrat) เป็นผู้แทนจาก 16 รัฐ จำนวน 69 คน แต่ละรัฐมีสิทธิออกเสียงตามจำนวนประชากร



team-member

แก้วกาแฟลาย Berlin