การประพฤติตนที่ดี  ทำอย่างไร

1. ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม
3. มีจิตสำนึกที่ดี
4. มีสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่
5. มีจิตสาธารณะ
6. มีวินัยและการเคารพกฎหมาย
7. มีเหตุผล  และ  8. มีส่วนร่วม

การประพฤติปฏิบัติตนที่ดี

ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

: ตระหนักและนำหลักประชาธิปไตยไปใช้ในชีวิตอย่างเป็นนิสัย
- หลักความเสมอภาค อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่แบ่งชนชั้น ไม่ข่มเหง รังแกผู้ที่อ่อนแอกว่า
- หลักความมีเหตุผล คิดอย่างมีเหตุผล รับฟังความเห็นของผู้อื่น ใช้เหตุผลที่ถูกต้องในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ
- หลักนิติธรรม ปฏิบัติตามกฎหมาย ใช้หลักกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน
- หลักความซื่อสัตย์ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
- หลักการถือเสียงข้างมาก ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับเสียงส่วนน้อย

ยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม

: ยึดมั่นในคุณงามความดี ประพฤติปฏิบัติตามคุณงามความดีที่ยึดมั่นจนเป็นนิสัย
- คุณธรรมจริยธรรม เป็นรากฐานสำคัญที่ต้องปลูกฝัง
- ประชาธิปไตย จะขาดความสมดุล หากไม่มีคุณธรรมจริยธรรมนำพา

มีจิตสำนึกดี

สังคมจะสุจริตได้ ด้วยทุกคนมีจิตสำนึกที่ดี
มีความตั้งใจและรับผิดชอบในการงานที่ได้รับมอบหมายเสียสละและคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมจากการปฏิบัติของตน

มีสำนึกรับผิดชอบต่อหน้าที่

: สังคมจะดี ต่อเมื่อมีผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่   และ   : การรู้หน้าที่จะช่วยให้บ้านเมืองเกิดความสุจริต
พร้อมที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่อยู่ในอำนาจที่ตนได้รับมอบให้ปฏิบัติ และพร้อมที่จะถูกตรวจสอบได้

มีจิตสาธารณะ

- รู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
- ยึดมั่นในระบบคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม
- ละอายต่อสิ่งผิด
- ร่วมมือกันทำกิจกรรมสาธารณะ
- ริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมที่มุ่งมั่นนำประโยชน์สุขสู่ส่วนรวม

มีวินัยและเคารพกฎหมาย

:การมีวินัยและเคารพกฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์สำคัญ ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
- เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- มีความรู้ ความเข้าใจในกฎเกณฑ์ กติกาของสังคม
- เคารพในสิทธิ เสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
- ยอมรับและปฏิบัติตามกฎหมาย

มีเหตุผล

: ใช้เหตุผล ในการพิจารณาสิ่งที่จะดำเนินงานใด ๆ ด้วยความถี่ถ้วน รอบคอบ ไม่ย่อท้อ ไร้อคติ โดยปราศจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
- ความอดทนอดกลั้น
- ยอมรับความแตกต่างทางความคิดของผู้อื่น
- ยอมรับในมติต่าง ๆ ได้ด้วยความเต็มใจ

มีส่วนร่วม

: การมีส่วนร่วมเป็นการแสดงออกเชิงประจักษ์ที่เสริมสร้างบ้านเมืองสุจริต
ประชาชนหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสนใจ และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ร่วมให้ข้อมูล ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมติดตาม ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับผล เพื่อนำไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและตัดสินใจของภาครัฐ