ของที่ระลึกจากญี่ปุ่น



ข้อมูล : กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ

เผยแพร่ : 20 / กุมภาพันธ์ / 2566

 

ความสัมพันธ์ของรัฐสภาไทย - รัฐสภาญี่ปุ่น



ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2430 รัฐบาลญี่ปุ่น ให้ความสำคัญต่อไทยในทุกมิติและถือว่าไทยเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญ ทำให้ญี่ปุ่นและไทยมีความร่วมมือระหว่างกันครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และวิทยาการ พร้อมทั้งมีการกระชับความร่วมมือให้พัฒนาไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ

ในส่วนความสัมพันธ์ของรัฐสภา ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับที่ดีต่อกัน ระดับทวิภาคี ในปี พ.ศ. 2536 รัฐสภาไทยได้จัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ญี่ปุ่น (Thailand-Japan Parliamentarians Friendship Group) และรัฐสภาญี่ปุ่นตั้งกลุ่มมิตรภาพรัฐสภาญี่ปุ่น-ไทย (Japan-Thailand Parliamentary Friendship Group) เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของรัฐสภาญี่ปุ่นและรัฐสภาไทย ในระดับพหุภาคี รัฐสภาทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ในรูปการเป็นภาคีสมาชิกสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU) สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก (Asian-Pacific Parliamentarians’ Union : APPU) และการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (Asia Pacific Parliamentary Forum : APPF) ร่วมกัน ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือในอันที่จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีการผสานความร่วมมือเพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนไปสู่ความสัมพันธ์อันยั่งยืน การพบปะกันระหว่างสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองประเทศกระทำในโอกาสที่คณะผู้แทนรัฐสภาทั้งสองประเทศเดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศในองค์กรดังกล่าว รวมทั้งการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายนิติบัญญัติของญี่ปุ่น : รัฐสภาเป็นระบบ 2 สภา ประกอบด้วย 1) วุฒิสภา (Senate) สมาชิกมีวาระ 6 ปี ปัจจุบันมีจำนวน 245 คน แต่มีการเลือกตั้งครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทุก 3 ปี จำนวนรอบละ 124 คน 2) สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) มีวาระ 4 ปี มีสมาชิกจำนวน 465 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (Single Member Constituency) เขตละ 1 คน จำนวน 289 คน และระบบสัดส่วนจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง (Proportional Representation) จำนวน 176 คน



team-member

จาน Arita Ware



team-member

ปากกาที่ระลึก Cloisonne