ของที่ระลึกจากมองโกเลีย



ข้อมูล : กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ

เผยแพร่ : 20 / กุมภาพันธ์ / 2566

 

ความสัมพันธ์ของรัฐสภาไทย - รัฐสภามองโกเลีย



ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมองโกเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2517 ความสัมพันธ์ได้รับการฟื้นฟูอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2533 เมื่อมองโกเลียเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองจากระบบพรรคเดียวและเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมไปสู่ระบบเสรีประชาธิปไตยแบบหลายพรรคและเศรษฐกิจตลาดเสรี โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้การสนับสนุนการปฏิรูปประชาธิปไตยของมองโกเลีย ด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศมองโกเลีย

ในส่วนความสัมพันธ์ของรัฐสภา ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับที่ดีต่อกัน ระดับทวิภาคี เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2540 รัฐสภาไทยได้จัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-มองโกเลีย (Thailand-Mongolia Parliamentarians Friendship Group) และรัฐสภามองโกเลียตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภามองโกเลีย-ไทย (Mongolia-Thailand Parliamentary Friendship Group) เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของรัฐสภาทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ รัฐสภาของทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันตลอดมา นอกจากนี้ ในระดับพหุภาคี รัฐสภาทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ในรูปการเป็นภาคีสมาชิกสมัชชารัฐสภาเอเชีย (The Asian Parliamentary Assembly : APA) สมาชิกสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU) สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก (Asian-Pacific Parliamentarians’ Union : APPU) ร่วมกัน ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือในอันที่จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยใช้ โครงการต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป็นกลไกขับเคลื่อนไปสู่ความสัมพันธ์อันยั่งยืน การพบปะกันระหว่างสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองประเทศกระทำในโอกาสที่คณะผู้แทนรัฐสภาทั้งสองประเทศเดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศในองค์กรที่เป็นสมาชิกดังกล่าว รวมทั้งการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายนิติบัญญัติของมองโกเลีย : รัฐสภาเป็นระบบรัฐสภาเดียว (Unicameral State Great Khural) สมาชิกจำนวน 76 คน มาจากการเลือกตั้ง (Popular vote) วาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี



team-member

ที่ทับกระดาษ



team-member

เหรียญที่ระลึกมองโกเลีย