ของที่ระลึกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา



ข้อมูล : กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ

เผยแพร่ : 20 / กุมภาพันธ์ / 2566

 

ความสัมพันธ์ของรัฐสภาไทย - รัฐสภาศรีลังกา



ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับศรีลังกาในระดับอัครราชทูต เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2498 และยกระดับเป็นเอกอัครราชทูต เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2504 มีความสัมพันธ์ราบรื่นและใกล้ชิด โดยมีความสัมพันธ์ทางด้านศาสนามากที่สุด ซึ่งนำไปสู่การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การค้า การท่องเที่ยว และวิชาการเพิ่มขึ้น

ในส่วนความสัมพันธ์ของรัฐสภา ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับที่ดีต่อกัน ระดับทวิภาคี ในวันที่ 17 กันยายน 2544 รัฐสภาไทยได้จัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ศรีลังกา (Thailand-Sri Lanka Parliamentarians Friendship Group) และรัฐสภาศรีลังกาจัดตั้งกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาศรีลังกา-ไทย เช่นเดียวกับรัฐสภาไทย โดยใช้ชื่อว่า Sri Lanka-Thailand Parliamentary Friendship Group เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของรัฐสภาทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ รัฐสภาของทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันตลอดมา นอกจากนี้ ในระดับพหุภาคี รัฐสภาทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ในรูปการเป็นภาคีสมาชิกสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU) ร่วมกัน ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือในอันที่จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยใช้กลไกทางสังคมและวัฒนธรรม มีโครงการและกิจกรรมเกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีการผสานความร่วมมือเพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนไปสู่ความสัมพันธ์อันยั่งยืน การพบปะกันระหว่างสมาชิกรัฐสภาของทั้งสองประเทศกระทำในโอกาสที่คณะผู้แทนรัฐสภาทั้งสองประเทศเดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศในองค์กรที่เป็นสมาชิกดังกล่าว รวมทั้งการประชุมที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายนิติบัญญัติของศรีลังกา มีสภาเดียว คือสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) 225 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง วาระ 6 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิในการถอดถอนประธานาธิบดี โดยเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร



team-member

ลายมือพระนามของสมเด็จพระสังฆราช อุตุ กามา ศรีพุทธรักขิตะ รัตนปาละ มหานายกเถร