team-member

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469





พระราชกรณียกิจด้านการพิพิธภัณฑ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว



พัทธนันท์ สัทธาพงษ์   |   9 มิถุนายน 2564

“...การศิลปะนั้น อารยประเทศทั้งหลายย่อมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาติส่วนหนึ่ง เป็นของควรรักษาไว้และควรบำรุงให้เจริญขึ้นโดยลำดับ ศิลปวัตถุก็ดี โบราณวัตถุก็ดี ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของตำนานและพงศาวดารของชาติ เป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นความเจริญและอารยธรรมของประเทศตามลำดับกาล...”




พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความสนพระราชหฤทัยในเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดี จึงทรงมีพระบรมราโชบายในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร พระองค์ได้พระราชทานพระราชวังบวรสถานมงคลให้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถาน และยังได้พระราชทานศิลปวัตถุ โบราณวัตถุส่วนพระองค์ นำมาจัดแสดงเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เนื้อหาการจัดแสดงสมบูรณ์ขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร พุทธศักราช 2469 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งโบราณและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ พุทธศักราช 2469 เพื่อคุ้มครองโบราณวัตถุมิให้ถูกนำออกนอกราชอาณาจักร





team-member

พระราชบัญญัติจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร พุทธศักราช 2469




team-member

พระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งโบราณและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ พุทธศักราช 2469

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2469 โดยพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “การศิลปะนั้น อารยประเทศทั้งหลายย่อมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาติส่วนหนึ่ง เป็นของควรรักษาไว้และควรบำรุงให้เจริญขึ้นโดยลำดับ ศิลปวัตถุก็ดี โบราณวัตถุก็ดี ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของตำนานและพงศาวดารของชาติ เป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นความเจริญและอารยธรรมของประเทศตามลำดับกาล ทั้งเป็นสิ่งซึ่งแสดงให้เห็นวิญญาณและอุปนิสัยของประชาชนแห่งชาตินั้นด้วย ด้วยเหตุเหล่านี้จึงเป็นของควรบำรุงรักษาไว้เป็นอย่างดี”

นับจากนั้นมา งานด้านพิพิธภัณฑสถานจึงได้รับความสำคัญมากขึ้น มีการจัดจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กระจายในภูมิภาคอื่นของประเทศ เพื่อจัดแสดงประวัติความเป็นมาและวัตถุสิ่งของสำคัญ ๆ ของภูมิภาคหรือพื้นที่นั้น ๆ สะท้อนถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตของบุคคล ซึ่งได้มีการพัฒนาโดยนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการจัดแสดงให้มีความน่าสนใจในปัจจุบัน สำหรับเรื่องเล่าฉบับนี้ จะขอกล่าวถึงพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนี้



team-member

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพจาก http://www.kingprajadhipokmuseum.com



พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสถาบันพระปกเกล้า ตั้งอยู่ที่อาคารกรมโยธาธิการเดิม บริเวณสี่แยกผ่านฟ้า ถนนหลานหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าได้บูรณะเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี จัดแสดงภาพถ่าย เอกสาร พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในขณะนั้น) เสด็จฯ แทนพระองค์ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2545



team-member

พิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์ ตั้งอยู่ในกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ถนนทหาร เขตดุสิต กรุงเทพฯ



พิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์

พิพิธภัณฑ์อาคารที่ประทับประชาธิปกศักดิเดชน์ ตั้งอยู่ในกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ถนนทหาร เขตดุสิต เป็นอาคารที่พำนักของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยที่พระองค์ทรงรับราชการเป็นนายทหารเหล่าทหารปืนใหญ่ (พ.ศ. 2458 - 2464) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2463 เป็นบ้านไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง หลังคามุงด้วยกระเบื้องลูกว่าว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านหน้าจะมี 3 ห้อง คือ ห้องทรงงาน ห้องบรรทม และห้องพระกระยาหาร ส่วนด้านหลังเป็นห้องเตรียมพระกระยาหารและยังมีชานโล่งสำหรับพักผ่อนภายนอก อาคารนี้ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เผยแพร่พระเกียรติคุณและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์



พิพิธภัณฑสถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ

พิพิธภัณฑสถาน พระปกเกล้ารำไพพรรณี เฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ในวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ที่มีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ชาวจังหวัดจันทบุรี และวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทำพิธีเปิดแพรคลุมป้ายพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551




team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...