กฎหมายตราสามดวง


สุเมฆ จีรชัยสิริ | 1 สิงหาคม 2563

...“กฎหมายตราสามดวง” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1”
นับเป็นกฎหมายฉบับแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และยังเป็นกฎหมายที่สะท้อนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาติไทยได้เป็นอย่างดี...


team-member

กฎหมายตราสามดวงฉบับสมุดไทย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วนำมารวบรวมเป็นหมวดหมู่ เป็นสัดเป็นส่วน รวมจำนวน 26 ส่วน เมื่อสำเร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1” นับเป็นกฎหมายฉบับแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และยังเป็นกฎหมายที่สะท้อนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาติไทยได้เป็นอย่างดี

กฎหมายไทยได้รับอิทธิพลจาก“คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” อันเป็นคัมภีร์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีพื้นฐานของวัฒนธรรมอินเดียโดยผ่านมาทางมอญ เชื่อว่าพระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้เป็นหลัก ในการอำนวยความยุติธรรมของพระมหากษัตริย์และถูกแพร่หลายไปในดินแดนต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


กฎหมายของกรุงศรีอยุธยาที่มีการประกาศใช้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893–1912) ก็ได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เช่นกัน และเมื่อได้มีการปรับปรุงกฎหมายในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็มีการตรากฎหมายเพิ่มเติม โดยยึดมูลคดีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นหลัก เรียกว่า “พระราชศาสตร์” รวมถึงการวินิจฉัยคดีความต่าง ๆ รวบรวมเป็นกฎหมายของแผ่นดิน เรียกว่า “พระราชนิติศาสตร์ หรือพระราชนิติคดี”

ด้วยเหตุนี้ ตัวบทกฎหมายที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง จึงเป็นทั้งพระธรรมศาสตร์ พระราชศาสตร์ และพระราชนิติศาสตร์หรือพระราชนิติคดี ผสมผสานกันโดยมีคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นแกนหลักที่สำคัญ


team-member



สาระสำคัญโดยรวมของกฎหมายตราสามดวง

สาระสำคัญโดยรวมของกฎหมายตราสามดวงปรากฏให้เห็นถึงโครงสร้างของสังคมไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ที่เป็นสังคมยึดถือศักดินาเป็นหลัก กล่าวได้ว่าศักดินาเป็นเครื่องกำหนดสิทธิ หน้าที่ความรับผิดชอบและฐานะของคนทุกกลุ่มในสังคม ระบบศักดินาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดระบบสังคม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอย่างกว้าง ๆ คือ ชนชั้นผู้ปกครอง และชนชั้นผู้ถูกปกครอง

           ชนชั้นผู้ปกครอง พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในการปกครอง ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชอำนาจเป็นเจ้าชีวิตของคนทั้งปวง แต่พระมหากษัตริย์ไทยก็ทรงปกครองบ้านเมืองโดยยึดหลักทศพิธราชธรรมมาแต่โบราณ

           ชนชั้นผู้ถูกปกครอง ชนชั้นผู้ถูกปกครองในกฎหมายตราสามดวง ได้แก่ ไพร่และทาส ซึ่งไพร่เป็นชนส่วนใหญ่ของสังคม เป็นสามัญชนทั่วไป กฎหมายบังคับให้ไพร่ต้องอยู่ใต้สังกัดมูลนาย มีสถานะเป็นสมบัติของมูลนายและอยู่ในหมวดทรัพย์สินของมูลนายเช่นเดียวกับทาส ผู้ใดลักพาไพร่ของมูลนายไป ถือเป็นความผิดต้องรับโทษ ซึ่งไพร่มี 2 ประเภท ได้แก่ ไพร่หลวง และไพร่สม

นอกจากนี้ กฎหมายตราสามดวงยังได้สะท้อนให้เห็นถึงการจัดกระบวนการยุติธรรมในสมัยโบราณ ได้แก่ พระธรรมนูญ พระอัยการลักษณะรับฟ้อง พระอัยการลักษณะตุลาการ พระอัยการลักษณะพยาน พระอัยการลักษณะอุทธรณ์ เป็นต้น จะเห็นว่าศาลในอดีต กระจายอยู่ตามหน่วยราชการต่าง ๆ ไม่เป็นระบบเดียวกัน ไม่มีการแยกเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีปกครอง ดังเช่นปัจจุบัน ตัวบทกฎหมายถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และไม่จำเป็นที่ประชาชนต้องล่วงรู้ เป็นเรื่องที่รู้เฉพาะชนชั้นปกครองและตุลาการเท่านั้น
ต่อมามีการปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงนำไปสู่การยกเลิกกฎหมายตราสามดวงในที่สุด

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

ภาพประกอบจาก : wikipedia.org

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...