team-member

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย


ปัทมพร ทัศนา | 1 สิงหาคม 2563

...เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภามีความสำคัญ ในการเป็นหลักฐาน ทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา...

คำว่า “จดหมายเหตุ” เป็นคำที่เรามักได้ยินได้ฟังกันมาอย่างยาวนานผ่านทางรายการโทรทัศน์หรือนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อหน่วยงาน องค์กร ซึ่งคำว่าจดหมายเหตุนั้นอาจหมายถึงสิ่งใดก็ได้ที่มีความทรงจำทางประวัติศาสตร์ และมีคุณค่าควรแก่การเก็บรักษา จดหมายเหตุอาจเป็นเอกสารที่เกิดขึ้นตามกระบวนการดำเนินงานตามภารกิจขององค์กร เป็นเอกสารในการทำงานที่สิ้นกระแสหรือไม่ได้ใช้งานแล้ว แต่ยังมีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง สามารถใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้องกับเอกสาร หรือองค์กรเจ้าของเอกสารนั้น ๆ หรืออาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ภาพถ่าย แผนที่ และบันทึกต่าง ๆ ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราว เป็นความทรงจำที่ควรค่าแก่การเก็บรักษา

team-member

จดหมายเหตุภาพถ่าย

team-member

จดหมายเหตุภาพถ่าย


เอกสารที่เกิดขึ้นภายในองค์กรล้วนมีคุณค่าและความสำคัญ แต่เอกสารแต่ละชิ้นมีคุณค่าที่แตกต่างกัน คุณค่าของเอกสารจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา เมื่อการดำเนินงานใด ๆ เสร็จสิ้นแล้ว วัตถุประสงค์ในการใช้งานเอกสารย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วย เอกสารที่ยังคงมีคุณค่าต่อเนื่องถือว่าเป็นเอกสารจดหมายเหตุที่ต้องเก็บรักษา โดยคุณค่าต่อเนื่องของเอกสารจดหมายเหตุนั้น อาจเป็นคุณค่าทางการบริหารที่หน่วยงานจัดเก็บไว้เพื่อประกอบการปฏิบัติงาน คุณค่าในการใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางกฎหมาย เช่น หนังสือสัญญาต่าง ๆ หรือเป็นคุณค่าที่ใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน เช่น เอกสารเกี่ยวกับงบประมาณ บัญชี ทะเบียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเงิน เป็นต้น

รัฐสภา เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการทางด้านกระบวนการนิติบัญญัติ มีเอกสารที่เกิดขึ้นในกระบวนการร่างกฎหมาย เอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งาน มีคุณค่าควรแก่การเก็บรักษาและอนุรักษ์ไว้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า เป็นหลักฐานอ้างอิงทางกฎหมาย และเป็นความทรงจำทางประวัติศาสตร์ทางด้านองค์กรนิติบัญญัติของชาติ เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุ รัฐสภาจำเป็นต้องมีหน่วยงานภายในผู้รับผิดชอบในการบริหารงานจดหมายเหตุของรัฐสภา เพื่อดูแล รักษา ประเมินคุณค่า สงวนรักษาและให้บริการเอกสารจดหมายเหตุต่าง ๆ จึงได้มีกลุ่มงานจดหมายเหตุขึ้นเป็นครั้งแรก อยู่ในส่วนพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สังกัดหอสมุดรัฐสภา ตามประกาศคณะกรรมการข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภา เรื่อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของส่วนงานในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2541

team-member

การดำเนินงานจดหมายเหตุ

team-member

ชั้นเก็บกล่องเอกสารจดหมายเหตุ



ปัจจุบันจดหมายเหตุรัฐสภาอยู่ภายใต้กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงาน ด้านจดหมายเหตุของรัฐสภาไทย ทำหน้าที่ในการกำหนดระเบียบวิธีการต่าง ๆ ในการดำเนินงาน ด้านเอกสาร การประเมินคุณค่าเอกสาร ที่ได้รับมอบ รวบรวม จัดเก็บ สงวนรักษาหรือการซ่อมบำรุงเอกสารจดหมายเหตุที่มีการชำรุด เสียหาย และให้บริการเอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภาในรูปแบบต่าง ๆ แก่สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการรัฐสภา และบุคคลทั่วไป ผ่านกลุ่มงานข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


team-member

เอกสารจดหมายเหตุที่อยู่ภายใต้การดูแลของจดหมายเหตุรัฐสภา ได้แก่ เอกสารที่เกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงานภายใต้ภารกิจในวงงานรัฐสภา เช่น บันทึกการประชุม รายงานการประชุม และเอกสารประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายต่าง ๆ รวมทั้งภาพถ่ายสถานที่ บุคคล วิดีโอ หรือโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ที่บ่งบอกเรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐสภาในอดีต เป็นต้น

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา จึงมีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ที่ต้องรวบรวม เก็บรักษาเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในเชิงนิติบัญญัติ รวมทั้งสะท้อนกระบวนการและที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ที่ผ่านการพิจารณาในรัฐสภาของไทย ตลอดจนเป็นแนวทางในการศึกษาในเชิงนิติบัญญัติได้ทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...