team-member

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย


ฉัตรชัย  ศรีเมืองกาญจนา | 1 สิงหาคม 2563

...ดุสิตธานีมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคฝ่ายซ้ายและพรรคฝ่ายขวา
กล่าวคือ มีฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้านอย่างสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน
พรรคฝ่ายขวานั้นมีนายราม ณ กรุงเทพ เป็นหัวหน้าพรรค
เวลาประชุมจะติดแพรแถบสีน้ำเงินเป็นเครื่องหมาย...

ก่อนที่ประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อปี 2475 นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเมืองจำลองที่เรียกว่า “ดุสิตธานี” ขึ้นในปี 2461 เพื่อเป็นแบบทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีลักษณะเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลโดยดัดแปลงมาจากประเทศอังกฤษ

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน) สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน สถานที่ราชการ โรงทหาร ร้านค้า โรงพยาบาล ตลาด โรงแรม ธนาคาร สถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ เป็นต้น โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอย่างครบถ้วน

team-member

โฮเต็ลเมโตรโปล เป็นอาคารกลุ่มใหญ่จำนวน 12 หลัง


นอกจากนี้ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบุรีนวราษฐ์ ราชเลขานุการในพระองค์ แปลธรรมนูญการปกครองเทศบาลของประเทศอังกฤษแล้วทรงนำมาพิจารณาดัดแปลงแก้ไขเพื่อใช้ในดุสิตธานี และได้พระราชทานชื่อว่า “ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี) พระพุทธศักราช 2461” เพื่อเป็นการกำหนดอำนาจในอันที่จะพระราชทานแด่ชาวดุสิตธานี ให้ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นในวิธีจัดการปกครองตนเองในกิจการบางอย่าง

โดยเนื้อหาสำคัญในธรรมนูญการปกครองนี้ ได้แก่ การกำหนดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเป็นการเลือกตั้งนคราภิบาล (หัวหน้ารัฐบาล) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าดำเนินการปกครองโดยทั่วไป และเลือกเชษฐบุรุษ (เปรียบได้กับผู้แทนราษฎร) เป็นตัวแทนของทวยนาคร (ราษฎร) ในอำเภอนั้น ๆ ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเป็นนคราภิบาลผู้เป็นใหญ่ในดุสิตธานีแต่ทรงเป็นเพียงนาครผู้หนึ่งที่ทรงใช้พระนามแฝงว่า “นายราม ณ กรุงเทพ” มีอาชีพเป็นทนายความ มีหน้าที่พิเศษเป็นเกษตรมณฑล มรรคนายกวัดพระบรมธาตุ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ และที่ปรึกษาราชการของสมุหเทศาภิบาลด้วย

team-member

บ้านหย่อนใจ ของท่านราม ณ กรุงเทพ

team-member

บ้านโปร่งใจ ของท่านราม ณ กรุงเทพ


ในด้านการเมือง ดุสิตธานีมีพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคฝ่ายซ้ายและพรรคฝ่ายขวา กล่าวคือ มีฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายค้านอย่างสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน พรรคฝ่ายขวานั้นมีนายราม ณ กรุงเทพ เป็นหัวหน้าพรรค เวลาประชุมจะติดแพรแถบสีน้ำเงินเป็นเครื่องหมาย จึงเรียกว่า “พรรคแพรแถบสีน้ำเงิน” ส่วนพรรคฝ่ายซ้าย มีพลเอก เจ้าพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค เวลาประชุมจะติดแพรแถบแดง เป็นเครื่องหมาย จึงเรียกว่า “พรรคแพรแถบสีแดง”

การพระราชทานธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี) พระพุทธศักราช 2461 เพื่อใช้ในดุสิตธานี เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามและพระราชปณิธานอันแน่วแน่ของพระองค์ ในการสานต่อเจตนารมณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนก ที่ทรงมีพระราชดำริให้พระองค์พระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อครองราชย์ แต่เนื่องจากในเวลานั้นทรงเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อม อีกทั้งยังไม่มีความรู้ความเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเอง ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น การส่งเสริมความคิดเรื่องการปกครองตนเองให้มีขึ้นในหมู่พสกนิกร จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง

team-member

ศาลารัฐบาลมณฑลดุสิต เป็นศาลาที่ทำการรัฐบาล

team-member

นาครศาลา เป็นที่ซึ่งทวยนาครมาพบกัน
เพื่อประชุมเลือกตั้งเชษฐบุรุษและนคราภิบาล


แต่เนื่องจากประชาชนยังขาดการศึกษาและไม่เห็นคุณค่าของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การเรียกร้องเพื่อให้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญของบุคคลบางกลุ่มจึงยังไม่อาจเป็นเสียงสะท้อนจากคนส่วนใหญ่ว่ามีความพร้อมมากเพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองแบบใหม่ตามกระแสนิยมตะวันตก เมืองดุสิตธานีจึงเปรียบเสมือนเป็นศูนย์การเรียนรู้ประชาธิปไตยแห่งแรกของไทยซึ่งทดลองให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียก่อนนำไปปฏิบัติจริง

ดุสิตธานีจึงเปรียบเสมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะสร้างประชาธิปไตยไว้เป็นบรรทัดฐานของประเทศสืบต่อไป ดังนั้น หากได้มีการเสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง รู้จักยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง อันจะส่งผลให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยมีความเข้มแข็ง และอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง

ภาพประกอบจาก : หนังสือ "เมืองดุสิตธานี"

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...