ลงเบี้ย


สุริยา ฆ้องเสนาะ | 1 สิงหาคม 2563

...การลงเบี้ยเป็นวิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งมติ
อันเป็นหัวใจสำคัญของการประชุมในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ เช่น การพิจารณาญัตติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ การให้ความเห็นชอบต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ เป็นต้น ...

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ และเมื่อสมาชิกได้มีการลงเบี้ยครบทุกคนแล้ว ก็จะมีการนับคะแนนตามเบี้ยแต่ละสีเพื่อจะได้ทราบมติของที่ประชุมนั้นว่าเป็นอย่างไร

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่ง บางเรื่องจะต้องมีการลงมติเพื่อถามความเห็นของที่ประชุมด้วย การลงมติ จะใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนซึ่งมีทั้งแบบเปิดเผยและลับ การลงเบี้ยเป็นวิธีการออกเสียงลงคะแนนลับวิธีหนึ่งที่ได้ถูกนำมาใช้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก คือข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๗๖ ข้อ ๕๐ กำหนดไว้ โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติคือ ให้เรียกชื่อสมาชิกมาลงเบี้ยต่อหน้าประธาน ผู้ที่เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีขาว และผู้ไม่เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีอื่นในหีบที่สภาจัดไว้


รัฐสภาประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทน

ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ซึ่งบัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทน ทั้งสองสภาจึงได้ตราข้อบังคับการประชุมขึ้นใหม่ คือ ข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๙๐ และข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสภาผู้แทน พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยที่ข้อบังคับการประชุมของแต่ละสภานี้ ยังคงบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติของการลงเบี้ยไว้ทำนองเดียวกับข้อบังคับการประชุมและปรึกษาหารือของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๗๖

team-member

เลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา

team-member

หีบบัตรเลือกตั้งสมาชิกพฤฒสภา


รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทน

ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ ซึ่งบัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทน โดยพฤฒสภาได้เปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็นวุฒิสภา ทำให้วุฒิสภาต้องตราข้อบังคับการประชุมขึ้นใหม่ คือ ข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของวุฒิสภา พ.ศ. ๒๔๙๑ ส่วนสภาผู้แทนยังคงใช้ข้อบังคับการประชุมฉบับเดิม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการตราข้อบังคับการประชุมขึ้นใหม่แต่บทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการลงเบี้ยนี้ยังคงบัญญัติไว้ทำนองเดียวกับข้อบังคับการประชุมฉบับต่าง ๆ ที่ผ่านมา

ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้มีการตราข้อบังคับการประชุมและการปรึกษาของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๔ ขึ้น ซึ่งยังได้กำหนดให้ใช้วิธีลงเบี้ยในการออกเสียงลงคะแนนลับอยู่ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติในการลงเบี้ยใหม่ กล่าวคือ สมาชิกผู้ที่เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีน้ำเงิน ผู้ที่ไม่เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีแดง ส่วนผู้ที่ไม่ออกเสียงให้ลงเบี้ยสีขาว การลงเบี้ยในลักษณะดังกล่าวนี้ ยังคงนำมาบัญญัติไว้ในข้อบังคับการประชุมฉบับต่อ ๆ มาของ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา สภาร่างรัฐธรรมนูญ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นอำนาจของแต่ละสภาที่จะตราข้อบังคับการประชุมที่ตราขึ้นจะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามชื่อของสภาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น

team-member


หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติของการลงเบี้ย

ข้อบังคับการประชุมของแต่ละสภาที่ตราขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๖ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนนลับโดยวิธีการลงเบี้ยไว้ทุกฉบับ หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติของการลงเบี้ยนั้น สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ดังนี้

ช่วงที่หนึ่ง (ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๖-พ.ศ. ๒๔๙๔) หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการลงเบี้ยจะญัตติไว้ในทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ให้เรียกชื่อสมาชิกเป็นรายบุคคลลงเบี้ยในหีบต่อหน้าประธานผู้ที่เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีขาว ผู้ที่ไม่เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีอื่น ส่วนผู้ที่ไม่ออกเสียงลงคะแนนมิได้มีการบัญญัติไว้ต้องลงเบี้ยสีอะไร

ช่วงที่สอง (ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๔-พ.ศ. ๒๕๓๘) หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการลงเบี้ยจะมีการบัญญัติไว้ในทำนองเดียวกับช่วงแรก คือ ให้เรียกชื่อสมาชิกเป็นรายบุคคลมาลงเบี้ยในหีบต่อหน้าประธาน (ต่อมาใช้ตู้ทึบแทนหีบ) แต่มีความแตกต่างจากช่วงแรกในส่วนสีของเบี้ยที่จะใช้ออกเสียงลงคะแนน กล่าวคือ เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีน้ำเงิน ผู้ที่ไม่เห็นด้วยให้ลงเบี้ยสีแดง ส่วนผู้ที่ไม่ออกเสียงลงคะแนนให้ลงเบี้ยสีขาว


ยกเลิกการลงเบี้ย

การออกเสียงลงคะแนนลับโดยการลงเบี้ยนั้นได้ถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เนื่องจากภายหลังการตราข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๓๘ นั้น ไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการลงเบี้ยเอาไว้ แต่มีวิธีอื่นมาใช้ในการออกเสียงลงคะแนนลับแทน โดยกำหนดให้การออกเสียงลงคะแนนลับทำได้ ๒ วิธี คือ การเขียนเครื่องหมายบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ผู้เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมาย check ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยให้เขียนเครื่องหมาย close ส่วนผู้ที่ไม่ออกเสียงให้เขียนเครื่องหมาย panorama_fish_eye หรือวิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมเห็นสมควรเฉพาะกรณี

การลงเบี้ยเป็นวิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้มาซึ่งมติอันเป็นหัวใจสำคัญของการประชุมในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ เช่น การพิจารณาญัตติ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ การให้ความเห็นชอบต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ เป็นต้น เพื่อหาข้อยุติในปัญหา และกำหนดแนวทางที่สภาจะต้องดำเนินการต่อไป

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...