team-member





ครั้งหนึ่งกับ..พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน


เชษฐา ทองยิ่ง   |   18 พฤษภาคม 2564

“...ครั้งหนึ่ง.. ได้เคยมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์อันมีคุณค่ายิ่งของพระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตย และเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ให้แพร่หลายไปยังผู้เข้าชม ผู้เป็นพสกนิกรของพระองค์ ตรึงอยู่ในดวงจิตดวงใจเพื่อถวายความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์...”




หากใครสัญจรหรือเดินทางผ่านไปมา บริเวณถนนราชดำเนิน ถนนหลานหลวง บริเวณหัวมุมแยกสะพานผ่านฟ้าลีลาศ จะพบเห็นอาคารหลังสีเขียว ซึ่งจัดแสดง “พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” แต่มีน้อยคนที่จะทราบว่า ก่อนที่จะมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ ณ สถานที่แห่งนี้ ครั้งหนึ่งเคยจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์และให้เข้าชมอยู่ ณ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน มานานถึง 20 ปี

คอลัมน์พิพิธภัณฑ์บันทึก จะขอพาย้อนไปเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2523 เป็นวันเดียวกับพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา ทั้งนี้ ได้เปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บริเวณใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ โดยเรียกชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” ในความรับผิดชอบของหอสมุดรัฐสภา ปัจจุบันคือ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร



team-member

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน


team-member

กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติภายในพิพิธภัณฑ์ ฯ ในอดีต




การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว รัฐสภาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมาจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ พร้อมให้บริการบรรยายและนำชมแก่ผู้เข้าชม ได้แก่ สมาชิกรัฐสภา บุคคลในวงงานรัฐสภา นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยไม่เสียค่าเข้าชม



team-member

โต๊ะและเก้าอี้ทรงพระอักษร


team-member

ฉลองพระองค์ และพระมาลา


สิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ณ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน ประกอบด้วย
- โต๊ะและเก้าอี้ทรงพระอักษร
- ฉลองพระองค์ชุดสากล ชุดทหาร
- ฉลองพระองค์ครุย (ในโอกาสที่ใส่ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นครั้งแรก)
- พระมาลา
- ฉลองพระบาท
- ฉลองพระเนตรแบบต่าง ๆ
- อินทนู เครื่องหมายยศทางทหาร
- หนังสือส่วนพระองค์
- พระแสงปืน กระบี่ และดาบ
- กล้องยาสูบประกอบงา และไฟแช็คแบบต่าง ๆ
- เครื่องพระสุธารส
- เครื่องดนตรีที่ทรงโปรด อาทิ ซอสมาสาย ซออู้ เครื่องสังคีตประจำประองค์
- เครื่องกีฬาที่ทรงโปรด อาทิ กอล์ฟ เทนนิส
- ของที่ระลึกและของสะสมชนิดต่าง ๆ



team-member

อินทนู เครื่องหมายยศทางทหาร


team-member

อินทนู เครื่องหมายยศทางทหาร




team-member

ฉลองพระเนตรแบบต่าง ๆ




นอกจากจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ดังที่กล่าวแล้ว สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้นำวัตถุจัดแสดงและเอกสารสำคัญที่อยู่ในความครอบครองมาร่วมจัดแสดง ที่สำคัญได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของไทย ซึ่งพระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 รวมทั้งลายพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477



team-member

หนังสือส่วนพระองค์




team-member

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475




team-member

ลายพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2477




ทั้งนี้ ในการบรรยายนำชมได้กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ เริ่มจากพระราชสมภพ จนเสด็จสวรรคต รวมถึงพระราชกรณียกิจที่ทรงประกอบในระหว่างทรงครองราชย์ อาทิ ด้านการศึกษา ศาสนา สังคมและวัฒนธรรม และแนวพระราชดำริด้านการเมืองการปกครองที่นำมาสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน การบรรยายนำชมพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัวในครั้งนั้น นอกจากผู้เข้าชมได้รับทราบพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ที่ทรงบำเพ็ญปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของประชาอาณาราษฎรแล้ว ยังได้รับความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด รัฐสภาไทยในฐานะองค์กรนิติบัญญัติด้วย



team-member

กล้องยาสูบประกอบงา และไฟแช็คแบบต่าง ๆ


team-member

พระแสงปืน กระบี่ และดาบ




team-member

ของที่ระลึกและของสะสมชนิดต่าง ๆ


team-member

ของที่ระลึกและของสะสมชนิดต่าง ๆ




team-member

ของที่ระลึกและของสะสมชนิดต่าง ๆ




การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ได้เผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของพระองค์แก่ผู้เข้าชมจำนวนมาก หลากหลายกลุ่มเป้าหมายและสาขาอาชีพ ครอบคลุมทุกช่วงชัยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ เกิดความเทิดทูน จงรักภักดี และรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ต่อเนื่องตลอดมาถึง 20 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งมอบสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จัดแสดงอยู่นั้น ให้แก่สถาบันพระปกเกล้าตามพระราชบัญญัติสถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2541 โดยจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้า มุมถนนราชดำเนิน และถนนหลานหลวง จวบจนถึงปัจจุบัน



team-member

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวปัจจุบัน




ในโอกาสครบ 80 ปี แห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้เคยรับผิดชอบจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมาช่วงระยะเวลาหนึ่ง ขอบันทึกไว้ใน “พิพิธภัณฑ์บันทึก” เพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์รัฐสภาปัจจุบันว่า “ครั้งหนึ่ง.. ได้เคยมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบสิ่งของเครื่องใช้ส่วนพระองค์อันมีคุณค่ายิ่งของพระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตย และเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ให้แพร่หลายไปยังผู้เข้าชม ผู้เป็นพสกนิกรของพระองค์ ตรึงอยู่ในดวงจิตดวงใจเพื่อถวายความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ตลอดกาลนาน”




team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...