team-member


การออกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่


พิพิธภัณฑ์รัฐสภา   |   28 มกราคม 2564

“...อาคารรัฐสภาเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองประชาธิปไตย แนวคิดในการออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ จึงให้ความสำคัญแก่ประชาชนทุกระดับ เพราะประชาชนอยู่ในฐานะที่สำคัญในทุกภาคส่วน ...”

เนื่องจากอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน มีพื้นที่จำกัดทำให้เกิดความแออัด ไม่สามารถรองรับภารกิจของฝ่ายนิติบัญญัติได้ จึงได้มีแนวคิดหาพื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ในเบื้องต้นได้มีการพิจารณาพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณที่ดินราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต ที่ดินบริเวณคลังเชื้อเพลิง แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร และที่ดินราชพัสดุกองคลังแสง กรมสรรพวุธ ทหารบก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

และได้มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งมีนายชัย ชิดชอบ เป็นประธานคณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมหารือกับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง นางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาพื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่



team-member

"พระที่นั่งอนันตสมาคม" อาคารรัฐสภาแห่งแรก



team-member

อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน อาคารรัฐสภาแห่งที่สอง



คณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งมีนายชัย ชิดชอบ เป็นประธาน ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551 เห็นชอบให้ใช้พื้นที่ราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต แปลงริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ 119 ไร่ เป็นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ เนื่องจากเป็นแกนเมืองที่มีความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่เริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และได้ขยายเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยการก่อสร้างถนนราชดำเนินไปสิ้นสุดที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ต่อเนื่องถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ประชุมรัฐสภาครั้งแรก

team-member

การออกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยทีมสงบ 1051 ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดเป็นงานสถาปัตยกรรมไทยตามคติไตรภูมิ ในพุทธวิธีที่สร้างมณฑลศักดิ์สิทธิ์เป็นสัปปายะสถาน นำบ้านเมืองสู่ภาวะ “บังอบายเบิกฟ้า ฝึกพื้นใจเมือง” ที่พระมหากษัตริย์และบรรพบุรุษของเราในอดีต ได้สถาปนาสืบสานเพื่อให้บ้านเมืองสงบร่มเย็นมาต่อเนื่องยาวนาน
ทั้งนี้ การออกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ได้เน้นเรื่องอุดมคติ 5 เรื่อง และเรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิต 4 เรื่อง



team-member

"พระสุริยัน" แนวคิดหลักในการออกแบบห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ว่า พระสุริยันเป็นต้นกำเนิดของชีวิตและสรรพสิ่งในโลกนี้ เช่นเดียวกับภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์ของรัฐสภา เพื่อความผาสุกสงบร่มเย็นของประชาชน



team-member

"พระจันทรา" แนวคิดหลักในการออกแบบห้องประชุมวุฒิสภาที่ว่า พระจันทราเป็นพลังคู่กับพระสุริยัน เปรียบเสมือนการทำงานระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับสมาชิกวุฒิสภา เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ



อุดมคติ 5 เรื่อง ประกอบด้วย

อุดมคติเรื่องที่ 1 ชาติ
รัฐสภาต้องสง่างามมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่าอย่างไทย เป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่เจริญขึ้นจากรากเหง้าของศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศไทย เป็นการสืบสานทั้งศิลปะ วัฒนธรรม คติความเชื่อ และภูมิปัญญาจากอดีตเชื่อมโยงมาจึงถึงปัจจุบัน

อุดมคติเรื่องที่ 2 ศีลธรรม
ปัญหาการแสดงความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองที่แตกต่างกันของคนในสังคมปัจจุบัน รัฐสภา จึงเป็นศูนย์รวมแห่งความหวังของประชาชนและสังคมทั่วไป โดยให้อาคารรัฐสภาเป็นสัปปายะของบ้านเมือง กล่าวคือ เป็นสถานที่แห่งปัญญา เป็นศูนย์รวมจิตใจและการมีส่วนร่วมกันของคนทั้งชาติ รวมทั้งเป็นสภาที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นหลักของบ้านเมืองในเรื่องศีลธรรม คุณธรรม และการปกครองโดยธรรม

อุดมคติเรื่องที่ 3 สติปัญญา
รัฐสภาแห่งใหม่จะเป็นแหล่งเพิ่มพูนความรู้และสติปัญญาของบุคคลภายในชาติ ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องความเป็นชาติ เพื่อสืบสานความเป็นไทยไปสู่สังคมโลก

อุดมคติเรื่องที่ 4 สถาบันพระมหากษัตริย์
ประเทศไทยมีศูนย์รวมจิตใจที่สำคัญสูงสุดที่ทำให้แตกต่างจากชาติอื่น ๆ ในโลก คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ การออกแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จึงให้ความสำคัญกับลำดับของพื้นที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการประกอบรัฐพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดประชุม ซึ่งจะต้องเป็นพื้นที่ที่สมพระเกียรติโดยอยู่ในสถานที่อันควรและเหมาะสม

อุดมคติเรื่องที่ 5 ประชาชน
อาคารรัฐสภาเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองประชาธิปไตย แนวคิดในการออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ จึงให้ความสำคัญแก่ประชาชนทุกระดับ เพราะประชาชนอยู่ในฐานะที่สำคัญในทุกภาคส่วน



team-member

เครื่องยอดอาคาร



team-member

"สัปปายะสภาสถาน” สถาปัตย์ไทยตามคติ “ไตรภูมิ”



team-member

สัญลักษณ์ องค์ประกอบที่สำคัญของห้องประชุมสภา หมายถึง ความสวัสดี และสติปัญญา


ประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิต 4 เรื่อง ประกอบด้วย

1. ประโยชน์ใช้สอย แนวคิดสถาปัตยกรรมสร้างขึ้นโดยพิจารณาให้ความสำคัญกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาอย่างเท่าเทียมกัน การจัดระบบอาคารคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก จึงสร้างพื้นที่เชื่อมโยงระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเข้าด้วยกัน และมีส่วนอื่น ๆ อยู่ข้างนอก

2. อาคารเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมและประหยัดพลังงาน การออกแบบอย่างพิถีพิถันบูรณาการอาคารขนาดใหญ่ เพื่อให้เป็นอาคารตัวอย่างที่สำคัญของประเทศ

3. การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม การออกแบบวางผังแม่บทได้พิจารณาถึงการให้ความสะดวกแก่ผู้พิการ เด็ก และผู้สูงอายุด้วย

4. ระบบรักษาความปลอดภัยและความปลอดภัยจากเพลิงไหม้ การออกแบบอาคารและบริเวณโดยรอบ ได้เตรียมรองรับทุกสถานการณ์และวินาศภัยทุกรูปแบบอย่างบูรณาการ รวมทั้งการวางระบบผังแม่บท โดยใช้มาตรฐานเทคโนโลยีระดับสูง โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์สูงของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นต้นแบบที่สำคัญ อาคารรัฐสภาแห่งใหม่นี้ จะเป็นสถานที่อันทรงเกียรติ และบริบูรณ์พร้อมด้วยภาพลักษณ์ที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวไทยทุกคน ในฐานะศูนย์กลางแห่งระบอบประชาธิปไตยสืบต่อไป



team-member

ห้องโถงสำหรับใช้ในการประกอบรัฐพิธี

team-member

รูปแบบอาคารเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมและประหยัดพลังงาน



 

ข้อมูลจากหนังสือรัฐสภาแห่งใหม่ (New Parliament)
จัดทำโดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...