team-member

การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย”


เจติยา โกมลเปลิน | 30 ธันวาคม 2563

...เมื่อการอภิปรายในประเด็นดังกล่าวยุติลง สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบด้วยกับคณะกรรมาธิการในการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ...

ประเทศไทย เป็นรัฐชาติตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อเรียกว่า “สยาม” จนกระทั่งสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีแนวคิดชาตินิยม จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก “สยาม” เป็น “ไทย” ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 แต่ในทางกฎหมายแล้วต้องถือเอาวันที่ 26 สิงหาคม 2482 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลสมัยนั้นเสนอร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญขนานนามประเทศต่อรัฐสภา โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้เรียกชื่อประเทศว่า “ประเทศไทย” และตามที่ได้มีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ที่มีคำว่า “สยาม” ก็ให้ใช้คำว่า “ไทย” แทน โดยให้เหตุผลในคำแถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร ตอนหนึ่งว่า

“...ในการที่ทางรัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญขนานนามประเทศนั้น ก็ด้วยได้พิจารณาเห็นกันเป็นเอกฉันท์ว่า นามประเทศของเรา ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ที่เรียกว่า ประเทศสยามนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานที่ได้ตั้งขึ้นไว้ คือ ไม่มีพระราชบัญญัติหรือไม่มีสิ่งใดที่เป็นหลักฐานนามประเทศของเราที่ใช้เรียกกันอยู่ทุกวันนี้ ก็ได้ด้วยความเคยชิน หรือได้จดจำเรียกกันต่อ ๆ มา และได้พยายามให้เจ้าหน้าที่ค้นในทางประวัติศาสตร์ก็ไม่ปรากฏว่าใครเป็นคนที่ได้ตั้งขึ้นคราวแรก และตั้งแต่ครั้งใดก็ไม่ทราบ เป็นแต่ว่าเราได้เรียกเรื่อย ๆ มา เรียกว่าประเทศสยาม และคำว่า ประเทศสยามนั้น ก็มักจะใช้แต่ในวงราชการ และนอกจากนั้นก็ในวงของชาวต่างประเทศเป็นส่วนมาก ส่วนประชาชนไทยของเราโดยทั่วไปเฉพาะอย่างยิ่งตามชนบทด้วยแล้ว เราจะไม่ค่อยใช้คำว่า ประเทศสยาม เราใช้คำว่า ไทย เนื่องด้วยมีนามซึ่งประชาชนคนไทยของเราเรียกเป็นสองอย่าง ดังนี้ และประกอบกับเรายังไม่มีหลักฐานในการที่เรามีการขนานนามประเทศ ทางรัฐบาลจึงปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า ควรจะร่วมกับสมาชิกผู้มีเกียรติในการที่ได้ตั้งขนานนามประเทศของเราเสียในระบอบประชาธิปไตยนี้ ร่วมกันด้วยความสมัครสมานให้เป็นสิริมงคลแก่ประเทศของเราต่อไปในภายข้างหน้าในการที่ให้ใช้คำว่า ไทย แทนที่เราจะขนานนามในบัดนี้ว่าเป็น สยาม...”


team-member



ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาและลงมติรับหลักการในวาระที่ 1 ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ และเมื่อเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ 2 ชั้นคณะกรรมาธิการ มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ การเปลี่ยนมาใช้คำว่า “ไทย” นั้น ควรจะใช้คำว่า “ไทย” มี “ย” หรือ “ไทย” ไม่มี “ย” ตาม โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสงวนคำแปรญัตติและได้อภิปรายถึงการใช้คำว่า “ไทย” โดยเสนอขอให้ตัดตัว “ย” ออกโดยให้เหตุผลว่า “การเรียกคำว่า “ไท” ของชนชาติไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยมานั้น ตามหลักศิลาจารึกนั้นไม่มีตัว “ย” และเห็นว่าหลักการเขียนคำไทยแท้นั้นต้องรัดกุม ไม่เยิ่นเย้อ อีกทั้งคำว่า “ไทย” ในอดีตที่ใช้กันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ สมัยที่อพยพย้อนลงมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ก็ไม่มี “ย” เช่นเดียวกัน


เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ และในฐานะที่ทรงเป็นประธานคณะกรรมการชำระปทานุกรมได้อธิบายชี้แจงว่า เหตุผลที่คณะกรรมาธิการวิสามัญเลือกที่จะใช้ “ไทย” มี “ย” ก็เพราะว่า คำว่า “ไท” ไม่มี “ย” นั้น โดยความหมายแปลว่า ความเป็นใหญ่หรือเป็นอิสระ ส่วนคำว่า “ไทย” มี “ย” นั้น ก็เพื่อจะจำแนกให้เห็นว่าเป็นชื่อเฉพาะและเพื่อความสะดวกทางภาษา เช่น คำว่า “ท้าวไท” โดยไม่มีตัว “ย” ตาม ก็จะแปลว่าท้าวผู้เป็นใหญ่ แต่ถ้า “ท้าวไทย” มีตัว “ย” ตาม ก็จะหมายถึง ท้าวที่มีสัญชาติเป็นไทย ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการชำระปทานุกรม จึงมีความเห็นพ้องต้องกันทั้งหมดให้คงมีตัว “ย” ไว้

เมื่อการอภิปรายในประเด็นดังกล่าวยุติลง สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อเรียกประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” ด้วยคะแนนเสียงเป็น เอกฉันท์ และต่อมาได้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ พุทธศักราช 2482 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับประกาศรัฐนิยม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2482 ซึ่งให้ใช้ชื่อ “ไทย” เป็นชื่อเรียกแทนประชาชน ตลอดจนเชื้อชาติ ในขณะที่ภาษาอังกฤษให้ใช้คำว่า “Thailand” ซึ่งเหตุผลที่ต้องมีคำว่า “land” ต่อท้ายคำว่า “Thai” นั้นเป็นเพราะเพื่อให้ทราบว่า “Thailand” นั้นเป็นชื่อประเทศ และเพื่อไม่ให้ซ้ำกับคำว่า “ไทย” ที่หมายถึงคนไทย


team-member

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...