team-member


การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในไทย (ตอนที่ 1)


ชีวานนท์ กันย์ภิวัฒน์ | 28 ธันวาคม 2565

...“พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 ฉะบับที่ 2” ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 สิงหาคม 2476 ได้กำหนดวิธีการเลือกตั้งทางอ้อมไว้ คือ ราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงในตำบล เลือกตั้งผู้แทนตำบล ๆ ละ 1 คน และผู้แทนตำบลในจังหวัด เลือกตั้งผู้แทนราษฎร จังหวัดละ 1 คน ...


การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกของไทย ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมครั้งเดียวที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 โดยมาตรา 16 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้ง และมาตรา 17 ระบุไว้ว่าคุณสมบัติของผู้เลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง วิธีการเลือกตั้ง และจำนวนสมาชิกให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

อย่างไรก็ตาม ในบทเฉพาะกาล มาตรา 65 ระบุว่า ตราบเท่าที่ราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งยังมีการศึกษาไม่จบประถมศึกษาสามัญมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด แต่ไม่ให้เกิน 10 ปี นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ให้มีสมาชิก 2 ประเภท ประกอบด้วย สมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่ ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้น และสมาชิกประเภทที่ 2 ได้แก่ ผู้ที่มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์

team-member

บทเฉพาะกาล มาตรา 65

team-member

การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร



“พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 ฉะบับที่ 2” ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 สิงหาคม 2476 ได้กำหนดวิธีการเลือกตั้งทางอ้อมไว้ คือ ราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงในตำบล เลือกตั้งผู้แทนตำบล ๆ ละ 1 คน และผู้แทนตำบลในจังหวัด เลือกตั้งผู้แทนราษฎร จังหวัดละ 1 คน ถ้าจังหวัดใดมีพลเมืองเกินกว่าสองแสน ให้เลือกตั้งผู้แทนเพิ่มขึ้นอีก 1 คน ทุก ๆ สองแสน

ทั้งนี้ อายุของราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนตำบลต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย เว้นแต่ (ก) กรณีมีบิดาเป็นชาวต่างชาติต้องเป็นผู้ที่ได้เรียนหนังสือไทยจนได้ประกาศนียบัตรมัธยมปีที่ 3 หรือได้รับราชการประจำการตามพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารแล้ว หรือได้รับราชการแผนกอื่น ๆ ในตำแหน่งตั้งแต่เสมียนพนักงานขึ้นไปโดยมีเงินเดือนประจำแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือ (ข) กรณีเป็นคนที่แปลงชาติมาเป็นไทยต้องมีคุณสมบัติตาม (ก) หรือได้อยู่ในไทยติดต่อกันนับแต่เมื่อได้แปลงชาติมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี

ขณะที่ อายุของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนตำบลหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรต้องมีอายุ 23 ปีบริบูรณ์ นอกจากนี้ ยังต้องมีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือมีอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นบุคคลที่เกิดในตำบลนั้น (กรณีสมัครเป็นผู้แทนตำบล) หรือจังหวัดนั้น (กรณีสมัครเป็นผู้แทนราษฎร) สำหรับข้าราชการที่รับพระราชทานเงินเดือนของรัฐบาลในตำแหน่งประจำจังหวัดใดจะสมัครรับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดนั้นไม่ได้ แต่สามารถสมัครรับเลือกในจังหวัดอื่นได้ และถ้าได้รับเลือกตั้งแล้วต้องลาออกจากตำแหน่งประจำการ แต่ให้มีสิทธิได้บำเหน็จบำนาญได้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ถ้าเป็นข้าราชการทหารอาจจะได้รับเบี้ยหวัดแทนบำนาญตามระเบียบของทหารก็ได้ อนึ่ง เมื่อออกจากสมาชิกภาพโดยไม่มีความเสียหายแล้วสามารถเข้ารับราชการในตำแหน่งชั้นเดียวกับตำแหน่งประจำการเดิมได้

การเลือกตั้งผู้แทนตำบลและผู้แทนราษฎรให้ออกเสียงตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 นาฬิกา โดยใช้บัตรออกเสียงไปใส่ในหีบบัตรเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้คะแนนสูงที่สุดคือผู้ที่ได้เป็นผู้แทนตำบล หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ผู้ที่มีอายุสูงกว่าเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง

บทความเรื่อง “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในไทย” ผู้เขียนได้แบ่งเนื้อหาออกเป็นสองตอน โดยในตอนที่ 1 นี้ ได้กล่าวถึงรายละเอียดของการเลือกตั้งที่ระบุไว้ใน “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” และ “พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 ฉะบับที่ 2” ส่วนบทความในตอนต่อไป (ตอนที่ 2) จะได้ให้ความรู้เรื่องดังกล่าวที่ปรากฏใน “พระราชกฤษฎีกาดำเนินการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2476 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 ฉะบับที่ 2” และ “กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 ฉะบับที่ 2” รวมถึงผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในไทย

ดาวน์โหลดไฟล์

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...