team-member


การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในไทย (ตอนที่ 2)


ชีวานนท์ กันย์ภิวัฒน์ | 28 ธันวาคม 2565


...ในการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรครั้งแรกนี้มีผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 4,278,231 คน และมีผู้ออกไปใช้สิทธิทั้งสิ้น 1,773,532 คน คิดเป็นร้อยละ 41.45 จังหวัดที่มีผู้ไปใช้สิทธิมากที่สุด คือ จังหวัดเพชรบุรี คิดเป็นร้อยละ 78.82...


“พระราชกฤษฎีกาดำเนินการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2476 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 ฉะบับที่ 2” กำหนดให้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 1 โดยให้กรมการอำเภอเริ่มดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนตำบล ผู้ที่ต้องการสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนตำบลของตำบลใดก็ให้ไปลงสมัครที่กรมการอำเภอ ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึงวันที่ 15 กันยายน 2476 และให้กรมการอำเภอกำหนดวันเลือกตั้งในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 สำหรับผู้สนใจสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรให้ไปยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ณ ศาลากลางจังหวัดก่อนเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 โดยต้องมีความรู้เทียบชั้นประถมสามัญ และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในระหว่างเดือนพฤศจิกายนกับธันวาคม พ.ศ. 2476

“กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 ฉะบับที่ 2” ระบุรายละเอียดในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของไทยไว้ว่า การทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงให้กรมการอำเภอถือตามทะเบียนสำมะโนครัวที่ได้ทำขึ้นครั้งหลังสุด หีบใส่บัตรออกเสียงจะต้องทำด้วยวัตถุที่ทนทานแข็งแรงมีกุญแจพร้อม และมีช่องใส่บัตรออกเสียงลงคะแนนได้ บัตรออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนตำบลให้ใช้กระดาษสีเหลืองและให้เรียกโดยย่อว่า “บัตรเหลือง” บัตรออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรให้ใช้กระดาษขาวและให้เรียก โดยย่อว่า “บัตรขาว”

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เป็นการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้น 70 จังหวัด ซึ่งราษฎรสามารถเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรได้จังหวัดละ 1 คน (64 จังหวัด) ยกเว้นจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดนครราชสีมาสามารถเลือกสมาชิกได้ 2 คน และจังหวัดพระนครและจังหวัดอุบลราชธานี สามารถเลือกสมาชิกได้ 3 คน รวมมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ประเภทที่ 1) จากการเลือกตั้งครั้งแรก จำนวน 78 คน เมื่อรวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ประเภทที่ 2) ที่แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์อีกจำนวน 78 คน ทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งสิ้น 156 คน

team-member

สถิติการเลือกตั้งครั้งที่ 1



เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2476 ราษฎรได้เลือกตั้งผู้แทนตำบลเพื่อเป็นตัวแทนไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยมีผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 4,278,231คน และมีผู้ออกไปใช้สิทธิทั้งสิ้น 1,773,532 คน คิดเป็นร้อยละ 41.45 จังหวัดที่มีค่าร้อยละของผู้ไปใช้สิทธิมากที่สุด คือ จังหวัดเพชรบุรี คิดเป็นร้อยละ 78.82 และจังหวัดที่มีค่าร้อยละของผู้ออกไปใช้สิทธิน้อยที่สุด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน คิดเป็นร้อยละ 17.71

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ซึ่งเป็นการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง รวมทั้งสิ้น 70 จังหวัด ซึ่งผู้แทนตำบลสามารถเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรได้จังหวัดละ 1 คน (64 จังหวัด) ยกเว้นจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดนครราชสีมาสามารถเลือกสมาชิกได้ 2 คน และจังหวัดพระนครและจังหวัดอุบลราชธานี สามารถเลือกสมาชิกได้ 3 คน ทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ประเภทที่ 1) จากการเลือกตั้งทางอ้อม เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 จำนวน 78 คน เมื่อรวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ประเภทที่ 2) ที่แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์อีกจำนวน 78 คน ทำให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งสิ้น 156 คน และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรก ที่ในเวลาต่อมาเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงและมีบทบาท เช่น นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายเลียง ไชยกาล นายโชติ คุ้มพันธ์ เป็นต้น

ภายหลังการเลือกตั้งได้มีการตรา “พระราชกฤษฎีกา” เพื่อเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกำหนดเปิดประชุมในวันที่ 10 ธันวาคม 2476 เนื่องจากตรงกับวันรัฐธรรมนูญ กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของไทยได้พระราชทานลงมาในวันที่ 10 ธันวาคม และหลังจากนั้นหนึ่งปีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระทำพิธีเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีสมาชิกชุดแรกมาจากการเลือกตั้ง (ทางอ้อม) ครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคมเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2476 ซึ่งเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1/2476 ที่ประชุมได้เลือกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และนายพลโท พระยาเทพหัสดิน เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ต่อมาเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ลาออกจากตำแหน่งและสมาชิกภาพเพราะป่วย ที่ประชุมสภาจึงได้เลือกนายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี เป็นประธานสภาแทน ส่วนตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ที่ว่างนั้นไม่ได้มีการเลือกตั้งแทน อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาพระยาศรยุทธเสนี ได้ขอลาออกจากตำแหน่งเพราะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ที่ประชุมสภาจึงได้เลือกเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศเป็นประธานสภาแทน

เมื่อได้มีการตรา “พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสามัญแห่งสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2477” ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1/2477 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ที่ประชุมได้เลือกเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร นายนาวาเอก พระเรี่ยมวิรัชชพากษ์ เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และนายพันเอก พระประจนปัจจนึก เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในปีถัดมาได้มีการตรา“พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสามัญแห่งสภาผู้แทนราษฎร พุทธศักราช 2478” ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1/2478 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่ประชุมได้เลือกเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร พระยามานวราชเสวีเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และนายพันเอกพระประจนปัจจนึก เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ส่วนในปี 2479 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยสามัญในวันที่ 1 สิงหาคม ที่ประชุมได้เลือกพระยามานวราชเสวีเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร นายพันเอกพระประจนปัจจนึกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 นายพลโท พระยาเทพหัสดินเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2

team-member

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

team-member

พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี

team-member

พลเอก พระยาเทพหัสดิน


นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎรได้เลือกพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี (สมัยที่ 2) และถือเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของไทย ซึ่งตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญฯ 2475 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 14 นาย ต้องเลือกจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2477 เนื่องจากรัฐบาลได้เสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบความตกลงระหว่างประเทศ เรื่องควบคุมการจำกัดยาง แต่สภาไม่เห็นชอบกับความตกลงที่รัฐบาลได้ลงนามไปก่อนหน้านั้น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะจึงกราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในเวลาต่อมาท่านได้ลาออก เนื่องจากกรณีกระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่ แต่สภาผู้แทนราษฎรได้เลือกท่านเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2480 จนกระทั่งสภาครบวาระ

หลังการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรได้เลือกเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนีเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และพลเอก พระยาเทพหัสดินเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2

นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎรได้เลือกพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี (สมัยที่ 2) และถือเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของไทย ซึ่งตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญฯ 2475 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 14 นาย ต้องเลือกจากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2477 เนื่องจากรัฐบาลได้เสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบความตกลงระหว่างประเทศ เรื่องควบคุมการจำกัดยาง แต่สภาไม่เห็นชอบกับความตกลงที่รัฐบาลได้ลงนามไปก่อนหน้านั้น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะจึงกราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ในเวลาต่อมาท่านได้ลาออกอีกครั้ง เนื่องจากกรณีกระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่ แต่สภาผู้แทนราษฎรได้เลือกท่านเป็นนายกรัฐมนตรีอีก เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2480 จนกระทั่งสภาครบวาระ

สภาผู้แทนราษฎรชุดที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2480 เนื่องจากครบวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้



team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...