team-member





18 พฤษภาคม : วันพิพิธภัณฑ์สากล (International Museum Day)



ซันวา สุดตา   |   18 พฤษภาคม 2564


“...สาระของวันพิพิธภัณฑ์สากลจึงไม่ใช่การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อจะย้ำยืนว่าตนอยู่ในชุมชนพิพิธภัณฑ์สากลเท่านั้น แต่ควรเป็นโอกาสดีที่พิพิธภัณฑ์จะหันกลับมาสำรวจตนเองว่ามีความคิด มีความเห็น และมีจุดยืนอย่างไร...”




วันพิพิธภัณฑ์สากล ตรงกับวันที่ 18 พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งวันดังกล่าวได้สถาปนาขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 โดยสภาพิพิธภัณฑ์ระหว่างประเทศ (International Council of Museums : ICOM) สถาบันสำคัญที่กำหนดนิยาม สร้างความรู้ สร้างเครือข่ายหรือชุมชนพิพิธภัณฑ์นานาชาติ ให้คนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างประเภทพิพิธภัณฑ์ ได้มาแลกเปลี่ยนสัมพันธ์กันในเวทีโลก โดยการกำหนดวันพิพิธภัณฑ์สากลนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักให้สังคมเห็นว่าพิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือสำคัญในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การสร้างความเข้าใจร่วมกัน การสร้างความร่วมมือและก่อให้เกิดสันติภาพระหว่างประชาชน ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้หันกลับมาสนใจและให้ความสำคัญกับสถานที่เก็บรวบรวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษสู่คนรุ่นปัจจุบันของแต่ละประเทศ และกระตุ้นเตือนพวกเขาถึงความท้าทายที่พิพิธภัณฑ์ เผชิญอยู่
ในทุก ๆ ปี ICOM จะมีการกำหนดประเด็นร่วมหรือแก่นเฉพาะหรือหัวข้อประจำปีนั้น ๆ และพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างความตระหนักรู้แก่สังคมได้ด้วยการจัดกิจกรรมในช่วงเวลาดังกล่าว ดังตัวอย่างหัวข้อของวันพิพิธภัณฑ์สากลในอดีต เช่น

ปี ค.ศ. 2014
Museum Collections Make Connections เน้นเรื่องที่เป็นหัวใจหลักของความเป็นพิพิธภัณฑ์ กล่าวคือ วัตถุจัดแสดง หรือคลังวัตถุของพิพิธภัณฑ์ โดยนอกเหนือจากบทบาทของการเก็บ การอนุรักษ์ และการจัดแสดงแล้ว พิพิธภัณฑ์จะช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกลุ่มต่าง ๆ ผ่านวัตถุที่สะสมมาได้อย่างไรบ้าง


ปี ค.ศ. 2015
Museum for a Sustainable Society เน้นบทบาทของพิพิธภัณฑ์ในการกระตุ้นให้มนุษย์เกิดความตระหนักในผลกระทบจากการกระทำของตนที่มีต่อโลก เน้นลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และใช้อย่างเคารพต่อระบบนิเวศมากขึ้น โดยพิพิธภัณฑ์ควรเป็นหนึ่งในองค์กรหลักเพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง และสามารถส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงสร้างโมเดลการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจใหม่ ๆ ผ่านพิพิธภัณฑ์ได้


ปี ค.ศ. 2016
Museum and Cultural Landscape มองว่าพิพิธภัณฑ์ควรมีบทบาทแข่งขันในการใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญของตน เพื่อปกป้อง รักษา และจุดประกาย ในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม ได้อย่างทันการณ์กับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น


ปี ค.ศ. 2017
Museums and Contested Histories: Saying the Unspeakable in Museums ผลักดันให้พิพิธภัณฑ์คำนึงถึงบทบาทของตนในการส่งเสริมสันติภาพระหว่างผู้คน ผ่านการพูดถึงประวัติศาสตร์ที่อาจจะเป็นเรื่องพูดยาก เรื่องที่เป็นบาดแผลของสังคม เรื่องที่สังคมมีความเห็นไม่ลงรอยกัน ซึ่งการพูดถึงเรื่องดังกล่าวจากหลาย ๆ มุมมอง จะนำไปความสมานฉันท์และการสร้างอนาคตร่วมกัน


ปี ค.ศ. 2018
Hyperconnected Museums: New Approach, New Publics เน้นให้พิพิธภัณฑ์ปรับตัวให้เข้าสังคมปัจจุบัน โดยการสร้างมาตรฐานกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคนิคและวิธีการใหม่ และให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น


ปี ค.ศ. 2019
Museums and Cultural Landscapes กำหนดบทบาทให้พิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดทำพิพิธภัณฑ์เชิงนิเวศชุมชนที่เหมาะสมกับภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และการค้นหาพื้นที่จิตสำนึกร่วมในมรดกทางวัฒนธรรมของชนร่วมกัน


ปี ค.ศ. 2020
Museum for Equality: Diversity and Inclusion พิพิธภัณฑ์ควรเป็นสถานที่สำคัญที่ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเป็นส่วนหนึ่งกับการจัดแสดงได้ โดยการแบ่งปันประสบการณ์และเรื่องราวที่หลากหลายในมุมองต่าง ๆ ซึ่งสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้อีกหลาย ๆ คน ได้เข้าใจตัวตน ช่วยให้สังคมเข้าใจความแตกต่าง ความเท่าเทียม และยอมรับในความหลากหลายได้มากขึ้น



team-member




วันพิพิธภัณฑ์สากลในไทย

ในแต่ละปีพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยได้จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับหัวข้อที่ ICOM ได้กำหนดขึ้นเป็นประจำทุกปี อาทิเช่น ปี ค.ศ. 2019 มิวเซียมสยาม (Museum Siam) ได้จัดกิจกรรม One-Day Trip ด้วยการพาผู้เข้าชมไปท่องเที่ยวย่านชุมชนวัฒนธรรม เช่น “ชุมชนย่านวังเดิม” และ “ชุมชนเจริญชัยย่านเยาวราช” เพื่อก่อเกิดการอนุรักษ์ ห่วงแหน และการมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีค่าทางวัฒนธรรมและจิตใจ อันควรรักษาไว้ให้อนุชนได้ศึกษา และปี ค.ศ. 2020 พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ ได้เชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมด้วยการส่งภาพถ่ายเหรียญหรือเงินตราประเภทอื่น พร้อมคำบรรยายเข้าประกวดในกิจกรรม "อยู่บ้านรื้อเหรียญเก่ามาเล่าต่อ” เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเป็นส่วนหนึ่งกับการจัดแสดง ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์และเรื่องราวความประทับใจของตนให้คนอื่น ๆ ได้ทราบ

นอกจากนี้ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับสมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ก็ได้ร่วมกันจัดการเสวนาเรื่อง “พิพิธภัณฑ์ไทยกับการแพร่ระบาดของโควิด-19” ในรูปแบบการเสวนาออนไลน์ ผ่านทาง Facebook NSM Thailand โดยมีประเด็นที่สำคัญ คือ “ผลกระทบอันเนื่องมาจากภาวะโควิด 19 ต่อพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ส่งผลให้พิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งมีการปรับตัวอย่างไร”

โดยพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ต่างยอมรับว่า ในช่วงเวลาแห่งการแพร่ระบาดของโควิด 19 เป็นช่วงที่สามารถนำเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาไว้มาทดสอบและใช้จริง เช่น กิจกรรม Museum from home และกิจกรรมสร้างแฮชแท็ก ภายใต้ธีม “ทุกการเรียนรู้ไม่ห่างอย่างที่คิด” ของ Museum Siam และการจัดโครงการ Science Delivery by NSM ของ อพวช. เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อมุ่งเน้นเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชม และเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน


จะเห็นได้ว่า ประเด็นของแต่ละปีล้วนสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงในสังคมร่วมสมัย การกระตุ้นให้พิพิธภัณฑ์หันมาทำกิจกรรมกับสังคมในประเด็นเหล่านี้ แสดงถึงความพยายามที่จะผลักดันพิพิธภัณฑ์ให้ก้าวจากพื้นที่ปลอดภัยเดิม ๆ ของตัวเอง ออกมาสำรวจโลกและสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างพิพิธภัณฑ์และโลกนอกพิพิธภัณฑ์มากขึ้น ดังนั้น สาระของวันพิพิธภัณฑ์สากลจึงไม่ใช่การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อจะย้ำยืนว่าตนอยู่ในชุมชนพิพิธภัณฑ์สากลเท่านั้น แต่ควรเป็นโอกาสดีที่พิพิธภัณฑ์จะหันกลับมาสำรวจตนเองว่ามีความคิด มีความเห็น และมีจุดยืนอย่างไร ต่อประเด็นร่วมสมัยที่เป็นหัวข้อของปีนั้น ๆ และที่สำคัญพิพิธภัณฑ์ต้องปรับตัวให้ได้ตามสถานการณ์โลกที่กำลังเปลี่ยนไป


ทั้งนี้ วันพิพิธภัณฑ์สากลปี ค.ศ. 2021 ภายใต้หัวข้อ “The Future of Museums: Recover and Reimagine” ที่ ICOM กำหนดขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีของพิพิธภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่าย จะได้ร่วมสร้างจินตนาการและแบ่งปันแนวปฏิบัติใหม่ ทบทวนแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาสำหรับความท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน



team-member

วันพิพิธภัณฑ์สากลปี 2021 มุ่งเน้นการคิดทบทวนพิพิธภัณฑ์แห่งอนาคตเพื่อตอบสนองความท้าทายในปัจจุบัน
ด้วยแนวคิด “The Future of Museums: Recover and Reimagine”
ภาพแบนเนอร์จาก http://imd.icom.museum




team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...