team-member

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2494



การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย


ณิชชา บูรณสิงห์ | 1 สิงหาคม 2563

...ประเทศไทยจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับนานาประเทศ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2484
และเป็นการเปลี่ยนการใช้ปีปฏิทินของประเทศไทยครั้งแรกเป็นต้นมา
ส่งผลให้ พ.ศ. 2483 เหลือเพียง 9 เดือน เนื่องจากได้ตัดสามเดือนสุดท้ายของ พ.ศ. 2483 ออก...

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งถือตามปฏิทินทางจันทรคติ คือ การนับวันเดือนปีโดยใช้การโคจรของพระจันทร์เป็นเกณฑ์ และจากหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงเปลี่ยนมาใช้จุลศักราช โดยใช้วันเถลิงศก (วันขึ้นจุลศักราชใหม่) เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งยังคงใช้ปฏิทินจันทรคติ ถึงแม้ว่าปฏิทินราชการจะใช้จันทรคติ แต่ทางคณะสงฆ์ยังนิยมใช้เทียบปีในรูปแบบพุทธศักราชอย่างเป็นทางการ

จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น การใช้ปฏิทินจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวก เพราะวันไม่ตรงกับปฏิทินสากล พระองค์จึงทรงได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์ ตามแบบสากลปฏิทินเกรโกเรียนแทน โดยกำหนดแบ่งให้หนึ่งปีมี 12 เดือน และในแต่ละเดือนจะมี 28-31 วัน ตามปฏิทินสากล พระองค์ทรงให้กรมพระยาเทววงศ์วโรปการเป็นผู้ตั้งชื่อเดือน ได้แก่ เดือนแรกของปี คือ เดือนเมษายน จนถึงเดือนสุดท้ายของปี คือ เดือนมีนาคม เริ่มใช้วันที่ 1 เมษายน 2432



คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปีปฏิทิน พศ...

ต่อมาในพุทธศักราช 2483 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เห็นว่า การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ของไทยไม่เหมาะสม เพราะประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ต่างถือวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ และเพื่อสะดวกในการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้มีแต่งตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องปีปฏิทิน ทำการศึกษาค้นคว้าและจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐบาล โดยมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนจากวันที่ 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ จึงได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติปีปฏิทิน พ.ศ. .... ในวันที่ 1 สิงหาคม 2483 โดยมีเหตุผลว่า เพื่ออนุโลมตามปีประเพณีของไทยแต่โบราณที่ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่และให้ตรงกับที่นิยมใช้ในต่างประเทศที่เจริญแล้ว จากนั้น ที่ประชุมรับหลักการวาระที่ 1 และมีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปีปฏิทิน พศ... จำนวน 9 คน ประกอบด้วย พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร หลวงวิจิตรวาทการ หม่อมเจ้าวิวัฒน์ไชย ไชยยันต์ นายเดือน บุนนาค นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายฟื้น สุพรรณสาร นายเตียง ศิริขันธ์ นายชอ้อน อำพล และนายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์

team-member

พ.ร.บ. ปีประติทิน พุทธศักราช 2483 หน้าแรก

team-member

พ.ร.บ. ปีประติทิน พุทธศักราช 2483 หน้าสอง

team-member

พ.ร.บ. ปีประติทิน พุทธศักราช 2483 หน้าสาม

team-member

พ.ร.บ. ปีประติทิน พุทธศักราช 248 หน้าสุดท้าย



พระราชบัญญัติปีปฏิทิน พุทธศักราช 2483

ต่อมาในวันที่ 29 สิงหาคม 2483 มีการพิจารณาวาระที่ 2 และ 3 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และประกาศใช้พระราชบัญญัติปีปฏิทิน พุทธศักราช 2483 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2483 ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงปีปฏิทิน โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ และให้ถือเป็นจารีตประเพณีของชาติ โดยให้หน่วยงานราชการหยุดทำการ 2 วัน คือ วันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับนานาประเทศ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2484 และเป็นการเปลี่ยนการใช้ปีปฏิทินของประเทศไทยครั้งแรกเป็นต้นมา และส่งผลให้ พ.ศ. 2483 เหลือเพียง 9 เดือน เนื่องจากได้ตัดสามเดือนสุดท้ายของ พ.ศ. 2483 ออก ทำให้เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม พ.ศ. 2483 หายไป และ พ.ศ. 2484 มี 12 เดือน เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินสากลที่ใช้อยู่ในต่างประเทศทั่วโลก โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม นับจากนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...