team-member

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2495



ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย


ปัทมพร ทัศนา | 1 สิงหาคม 2563

...ในหน้าพับบนของสมุดไทย
ประทับตราพระราชลัญจกรไอยราพตองค์ใหญ่ไว้ตรงกลาง
ซ้ายมือเป็นตรามหาโองการ และขวามือเป็นตราหงสพิมาน...

นับแต่ได้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ของไทย โดยทรงเห็นว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นของที่ควรจะขลัง ประสงค์ให้จัดทำรัฐธรรมนูญในรูปแบบสมุดไทยนั้น รัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยแต่ละฉบับ ถูกเขียนหรือเรียกว่า “ชุบ” ตามคำโบราณ ด้วยตัวอักษรแบบรัตนโกสินทร์ซึ่งมีความสวยงามสม่ำเสมอในแต่ละบรรทัด และมีการประทับตราสำคัญ หรือ ตราพระราชลัญจกร เป็นเครื่องมงคลที่แสดงถึงพระราชอิสริยยศ และพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์บนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยอีกด้วย โดยเริ่มเขียนจากคำว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” ในหน้าแรก และเว้นหน้าเปล่าไว้ 2 หน้า เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประทับตราพระราชลัญจกร

พระราชลัญจกร คือ ตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตราพระราชลัญจกร ดังนั้นจึงประทับตราเป็นสีแดงเท่านั้น ปัจจุบันเป็นตราที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ประทับ กำกับพระปรมาภิไธยและประทับกำกับเอกสารสำคัญ งานราชการแผ่นดิน เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ที่ออกในพระปรมาภิไธยประจำแผ่นดิน หรือประจำรัชกาลนั้น

team-member

การประทับพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550

team-member

เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำหน้าที่ประทับตราพระราชลัญจกร


พระราชลัญจกรแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

1. พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือ ประจำรัชกาล ใช้ประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในเอกสารสำคัญ
2. พระราชลัญจกรสำหรับแผ่นดิน ใช้ประทับกำกับเอกสารสำคัญที่ออกในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ได้สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธย เช่น พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต เป็นต้น
3.พระราชลัญจกรประจำพระองค์ คือ ใช้สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน เช่น ประทับในประกาศนียบัตร เหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น
4. พระราชลัญจกรประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ใช้ประทับประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่กำหนดไว้

team-member



พระราชลัญจกรที่ประทับบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย ได้แก่

พระราชลัญจกรไอยราพตองค์ใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชลัญจกรไอยราพตองค์ใหม่ เป็นตราประจำชาด 3 องค์ คือ องค์ใหญ่ องค์กลาง และองค์น้อย องค์ใหญ่เป็นรูปกลม สร้างด้วยโลหะสีเงิน ด้ามงาช้าง ลายกลางเป็นรูปช้างสามเศียรยืน แท่นบนหลังช้างมีบุษบก ในบุษบกมีอุณาโลมแวดล้อมด้วยฉัตรข้างละ 2 คัน และมีลายกนกแทรกอยู่


พระราชลัญจกรมหาโองการ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระราชลัญจกรมหาโองการประจำชาดขึ้นใหม่องค์หนึ่ง พร้อมกับพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เป็นตรารูปกลมรี เป็นรูปบุษบกมีเกริน บนเกรินตั้งฉัตรขนาบบุษบกทั้งสองข้าง ในบุษบกมีรูปอุณาโลมอยู่เบื้องบน เบื้องล่างเป็นรูปวงกลม ใต้วงกลมเป็นรูปพาลจันทร์ ใต้พาลจันทร์เป็นตัว “อุ” ซึ่งเป็นรูปลักษณ์อักษรขอม ทำจากงาช้าง

พระราชลัญจกรหงสพิมาน สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมาประกาศใช้ในรัชสมัยต่อมาโดยมีลายเป็นรูปหงส์มีบุษบกหลัง ด้านล่างเป็นกอบัว และมีลายเมฆแทรกอยู่ด้านบน สร้างเป็นรูปไข่ ทำจากงาช้าง ใช้ประทับในเอกสารสำคัญตามหลักกฎหมายกำหนด อาทิ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ประกาศพระบรมราชโองการต่าง ๆ เป็นต้น

พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาล มีการใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเป็นพระราชลัญจกรสำหรับผนึกพระราชสาส์นและหนังสือสัญญากับนานาประเทศ ใช้เป็นพระราชลัญจกร ประจำแผ่นดินในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพิ่มพระปรมาภิไธยประจำรัชกาลที่ขอบรอบพระราชลัญจกรในภายหลัง ตราทำจากงา มีลักษณะกลม ตัวด้ามทำด้วยทองคำ ใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธยในเอกสารสำคัญอันเป็นราชการแผ่นดินทั้งปวงประจำรัชสมัย ได้แก่ รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา พระราชกำหนด ประกาศพระบรมราชโองการต่าง ๆ เป็นต้น

team-member

ภายหลังที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยแล้ว เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้ประทับตราพระราชลัญจกร โดยในหน้าพับบนของสมุดไทย ประทับตราพระราชลัญจกรไอยราพตองค์ใหญ่ไว้ตรงกลาง ซ้ายมือเป็นตรามหาโองการ และขวามือเป็นตราหงสพิมาน คือ เรียงกัน 3 องค์ด้านบน ดังนี้ มหาโองการ ไอยราพตองค์ใหญ่ และหงสพิมาน ส่วนพับล่างตรงกลางแนวเดียวกับพระปรมาภิไธยจะประทับตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประจำรัชกาล เพื่อกำกับไว้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัชกาลใด เปรียบได้กับเมื่อครั้งจัดทำกฎหมายตราสามดวงในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ประทับพระราชลัญจกรคชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว แทนอำนาจฝ่ายทหาร พลเรือน และการต่างประเทศ

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...