team-member

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย


ซันวา สุดตา | 1 สิงหาคม 2563

...การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย 1 ฉบับ จะต้องจัดทำ 3 เล่ม คือ

รัฐธรรมนูญสมุดไทยฉบับต้น และรัฐธรรมนูญคู่ฉบับอีก 2 ฉบับ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ

จะมีการแยกเก็บรักษาที่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักราชเลขาธิการ

และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร...

นับตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นต้นมา แสงไฟในกองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ไม่เคยปิดลงทั้งกลางวันและกลางคืน ด้วยเพราะภารกิจสำคัญที่ถูกส่งไม้ต่อมาที่นี่ หลังการออกเสียงประชามติ เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยเสียง 16 ล้านเสียง ตามธรรมเนียมปฏิบัติกำหนดให้ “เขียน” หรือ “ชุบ” บทบัญญัติรัฐธรรมนูญลงในสมุดไทย ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งที่มาของการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย มาจากคำกล่าวของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประธานคณะกรรมการราษฎร และประธานคณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ปรากฏอยู่ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 16 พฤศจิกายน 2475 ระหว่างการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกของประเทศว่า

...ได้นำร่างรัฐธรรมนูญนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายทอดพระเนตร ทรงมีรับสั่งว่าเป็นที่พอพระทัย และได้ทรงแนะนำว่าการประกาศรัฐธรรมนูญนั้นเป็นของสำคัญที่ยิ่งใหญ่ ควรจะมีพิธีรีตอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้โหรหลวงหาฤกษ์ยาม...และโดยทรงเห็นว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์ และเป็นของที่ควรจะขลัง เพราะฉะนั้น ต้องการจะเขียนในสมุดไทย...”

ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย 1 ฉบับ จะต้องจัดทำ 3 เล่ม คือ รัฐธรรมนูญสมุดไทยฉบับต้น และรัฐธรรมนูญคู่ฉบับอีก 2 ฉบับ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการจะมีการแยกเก็บรักษาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักราชเลขาธิการ และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเนื้อหาของทั้ง 3 เล่ม จะต้องเหมือนกันทุกประการ

ด้วยเพราะสมัยนั้นยังไม่มีการพิมพ์ หรือการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ในการเก็บรักษาต้องมีรัฐธรรมนูญสมุดไทย 3 ฉบับ เพื่อสอบทานกันและหากฉบับใดฉบับหนึ่งเกิดสูญหายไปก็ยังคงเหลือหลักฐาน หรือการสงสัยความคลาดเคลื่อนก็มีฉบับอื่นให้สอบทาน ซึ่งปัจจุบันเรายังคงรักษารูปแบบนี้ รวมไปถึงการตกแต่งรูปเล่มตามที่เคยปฏิบัติสืบต่อมา

แต่ใช่ว่ารัฐธรรมนูญที่บังคับใช้ทุกฉบับจะถูกจารึกไว้ในสมุดไทย หากแต่การจารึกลงในสมุดไทยนั้น จะดำเนินการเฉพาะรัฐธรรมนูญที่ผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติเท่านั้น ปัจจุบันจำนวน 11 ฉบับ จากทั้งสิ้น 20 ฉบับ

team-member

ตัวอักษรรูปแบบ "รัตนโกสินทร์"


กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย


รัฐธรรมนูญสมุดไทยทุกฉบับมีขนาดเท่ากัน คือ กว้าง 13.4 เซนติเมตร ยาว 45.5 เซนติเมตร ปัจจุบันทำด้วยกระดาษไฮเวท หนา 120 แกรม โดยกองพิมพ์ กรมแผนที่ทหาร เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนกระดาษในส่วนนี้ องค์การค้าของคุรุสภา (ปัจจุบัน คือ องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาหรือองค์การค้าของ สกสค.) จะรับช่วงต่อด้วยการนำกระดาษไฮเวท มาจัดทำรูปเล่มสุมดไทยพับต่อเนื่องกัน ตามขนาดของสมุดไทย

เมื่อได้กระดาษมา “เจ้าหน้าที่ลิขิต” จากกองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้มีหน้าที่เขียนสมุดไทย โดยใช้ตัวอักษรที่เรียกว่า “รัตนโกสินทร์” ซึ่งเจ้าหน้าที่ลิขิตทุกคนจะต้องเขียนรัฐธรรมนูญลงสมุดไทยให้ทันต่อกรอบเวลาที่ได้กำหนดไว้ ในระหว่างนี้จะมีการตรวจทานความถูกต้องของตัวอักษรทุกระยะ และเมื่อเขียนเสร็จทั้งหมด ต้องมีการตรวจทานอย่างน้อยอีก 3 ครั้ง ก่อนที่จะส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่สำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ลงรักปิดทองทั้งปกหน้า ปกหลัง และด้านข้างของรูปเล่มทั้ง 4 ด้านให้สวยงาม พร้อมติดตรา “พระครุฑพ่าห์” ซึ่งจัดทำโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ บนปกรัฐธรรมนูญสมุดไทยเล่มละ 1 ดวง โดยในจำนวนตราพระครุฑพ่าห์ ที่สำนักกษาปณ์ จัดทำทั้งสิ้น 3 ดวงนั้น ประกอบไปด้วย ตราพระครุฑพ่าห์ทองคำ 1 ดวง เพื่อติดปกฉบับต้น และตราพระครุฑพ่าห์เงินกะไหล่ทอง 2 ดวง ติดปกคู่ฉบับที่เหลืออีก 2 ฉบับ

team-member

เจ้าหน้าที่ลิขิตกำลังเขียนสมุดไทย

team-member

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยที่เขียนแล้วเสร็จ


เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น รัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยทั้ง 3 ฉบับ จะถูกห่อด้วย “ผ้าเยียรบับ” หรือ ผ้าทอด้วยไหมสีควบกับไหมเงินไหมทองยกเป็นลายดอกจนดูเหมือนเป็นทองทั้งผืน ขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขลิบด้วยผ้าสีน้ำเงินและมีสายสำหรับผูกเย็บด้วยดิ้นทอง จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนดำเนินการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ต่อไป

โดยปกตินายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับสมุดไทย ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่บางคราวรัฐธรรมนูญฯ หรือธรรมนูญฯ ขณะนั้นจะบัญญัติให้ประธานรัฐสภาหรือเรียกชื่ออื่น อาทิ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี จะเป็นผู้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับสมุดไทย ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ส่วนร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง น้อยกว่าความหนาของรัฐธรรมนูญสมุดไทยปี 2550 ที่มีความหนาจำนวน 592 หน้า ซึ่ง (รัฐธรรมนูญสมุดไทยปี 2550) ถือเป็นรัฐธรรมนูญสมุดไทยที่มีความหนามากที่สุดในรัฐธรรมนูญสมุดไทยทุกฉบับที่ผ่านมา

จากธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับการจารึกรัฐธรรมนูญสมุดไทยที่เราสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ย่อมบ่งบอกได้ว่านี่คือเอกลักษณ์หนึ่งแห่งวิถีระบอบประชาธิปไตยไทย

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...