team-member

อาคารรัฐสภาไทย
จากพระที่นั่งอนันตสมาคม...สู่สัปปายะสภาสถาน


วิลาสิณี ฉายรัตน์ตระกูล | 1 สิงหาคม 2563

...พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคม

ให้ใช้เป็นที่ประชุมสภาสืบต่อมา พระที่นั่งอนันตสมาคมจึงเป็นอาคารรัฐสภาแห่งแรก ซึ่งใช้เป็น

สถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรของผู้แทนราษฎรไทยชุดแรก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475...


รัฐสภาไทยเป็นสถาบันทางการเมืองที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญของประเทศ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา พระที่นั่งอนันตสมาคมจึงเป็นอาคารรัฐสภาแห่งแรก ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรของผู้แทนราษฎรไทยชุดแรก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และใช้เป็นที่ประชุมจนถึงปี 2517 ทั้งยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีและรัฐพิธีสำคัญต่าง ๆ อาทิ พระราชพิธีสถาปนาสยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา

team-member

การประชุมสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

team-member

การประชุมสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม


พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างขึ้นเมื่อปี 2450 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ณ บริเวณลานพระราชวังดุสิต ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ ให้ใช้เป็นที่รับรองแขกบ้านแขกเมืองราชอาคันตุกะและสถานที่สำหรับประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน โดยทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง นายมาริโอ ตามานโย สถาปนิกชาวอิตาลีเป็นนายช่างออกแบบ ศาสตราจารย์แกลิเลโอ คินี และนายซี ริกุลี เป็นช่างเขียนภาพ

องค์พระที่นั่งฯ สร้างด้วยหินอ่อนจากเมืองคารารา ประเทศอิตาลี ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการแห่งอิตาลี ลักษณะเป็นอาคารสูง 2 ชั้น มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และรายล้อมด้วยโดมเล็กอีก 6 โดม ชั้นบนเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ซึ่งแบ่งเป็นห้องโถงประชุมและห้องโถงสำหรับประกอบพิธีต่าง ๆ ส่วนชั้นล่างประกอบด้วยห้องขนาดเล็ก 10 ห้อง ห้องขนาดกลางและใหญ่ อย่างละ 2 ห้อง และมีห้องโถงตรงกลางอีก 1 ห้อง

team-member

การประชุมคณะกรรมธิการ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม


ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกสภาเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของจำนวนประชากรไทยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้พระที่นั่งอนันตสมาคมคับแคบเกินกว่าที่จะใช้เป็นที่ประชุมสภาได้อีกต่อไป คณะรัฐบาลชุดจอมพล ถนอม กิตติขจร จึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ขอพระราชทานที่ดินทางทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม บริเวณถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ซึ่งเดิมเป็นของหน่วยรถถัง กรมตำรวจ เพื่อจัดสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ให้มีพื้นที่มากกว่าเดิม ซึ่งได้แก่ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน

โดยอาคารรัฐสภาแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2513 แล้วเสร็จในปี 2517 ด้วยการออกแบบของนายพล จุลเสวก นายช่างสถาปนิกเอกของกรมโยธาธิการ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการวาดแบบจากอาคารรัฐสภาบราซิล และมีบริษัทพระนครก่อสร้างเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารห้องประชุมรัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา อาคารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และอาคารสโมสรรัฐสภา โดยมีการใช้อาคารห้องประชุมรัฐสภาฯ เป็นที่ประชุมรัฐสภาครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 ซึ่งต่อมาได้มีการก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมอีกหลายหลังภายในอาณาบริเวณของรัฐสภา อาทิ อาคารรัฐสภา 2 อาคารสโมสรรัฐสภาเล็ก อาคารกองรักษาการณ์และฝ่ายอาคารสถานที่

team-member

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ณ อาคารรัฐสภา 1 ถนนอู่ทองใน

team-member

การประชุมคณะกรรมธิการ ณ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน


อย่างไรก็ตาม เนื่องมาจากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรของประเทศ ตลอดจนจำนวนข้าราชการผู้ทำหน้าที่สนับสนุนภารกิจของสมาชิกรัฐสภา ที่เพิ่มขึ้น คณะรัฐบาลชุดนายสมัคร สุนทรเวช จึงมีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนที่ดินราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต กรุงเทพฯ ภายใต้การออกแบบของนายธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) และคณะ จากบริษัทสงบ 1051 ซึ่งชนะการประกวดแบบอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ในชื่อ “สัปปายะสภาสถาน” ซึ่งหมายถึง “สภาแห่งความสงบร่มเย็นและปัญญา” ในปี 2552 และมีบริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง

team-member

อาคารรัฐสภา "สัปปายะสภาสถาน"

“สัปปายะสภาสถาน”


อาคารรัฐสภาแห่งใหม่เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี 2554 มีรูปแบบอาคารเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ลักษณะเป็นอาคารสูง 9 ชั้น และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น รวม 11 ชั้น การตกแต่งภายในอาคารเป็นแบบอาคารสมัยใหม่ ซึ่งคำนึงถึงระบบการทำงานของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาที่ต้องสอดประสานกันตามบทบาทหน้าที่ขององค์กรนิติบัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญ มีห้องประชุมสภาเป็นรูปทรงครึ่งวงกลม 2 ห้อง คือห้องประชุมพระสุริยันสำหรับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และห้องประชุมพระจันทราสำหรับการประชุมวุฒิสภา

แม้ว่าสัปปายะสภาสถานจะเป็นอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ แต่พระที่นั่งอนันตสมาคม และอาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน ยังคงเป็นสถานที่ซึ่งอยู่ในความทรงจำของผู้คน ในฐานะสถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยใช้เป็นสถานที่ประชุมของรัฐสภาไทย ในการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติแทนปวงชนชาวไทยภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...