รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม


ปิยะวรรณ ปานโต | 1 สิงหาคม 2563

...คณะผู้ร่าง ประกอบด้วย พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ อธิบดีศาลฎีกา พันเอก สุวรรณ เพ็ญจันทร์
เจ้าพระธรรมนูญทหารบก ร้อยเอก ประเสริฐ สุดบรรทัด นายเขมชาติ บุณยรัตพันธ์ นายเลื่อน พงษ์โสภณ
และคนอื่น ๆ ได้เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และเมื่อร่างเสร็จแล้วได้ซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ...


team-member

ดาวน์โหลดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๐

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น พลเอก เผ่า ศรียานนท์ พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิเกียรติ และพันโท ถนอม กิตติขจร และพวกร่วมอยู่ด้วย ได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

เมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จแล้ว ได้ประกาศยุบสภาและยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เพิ่งแก้ไขเพื่อให้แนวทางการปกครองประเทศเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 เพื่อบังคับใช้แทน ซึ่งคณะรัฐประหาร โดยพันเอก กาจ กาจสงคราม ผู้อำนวยการร่างรัฐธรรมนูญ และคณะผู้ร่าง ประกอบด้วย พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ อธิบดีศาลฎีกา พันเอก สุวรรณ เพ็ญจันทร์ เจ้าพระธรรมนูญทหารบก ร้อยเอก ประเสริฐ สุดบรรทัด นายเขมชาติ บุณยรัตพันธ์ นายเลื่อน พงษ์โสภณ และคนอื่น ๆ ได้เตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และเมื่อร่างเสร็จแล้วได้ซ่อนไว้ใต้ตุ่มน้ำ เพราะเกรงว่าความจะแตกถ้าหากมีใครมาพบเข้า และเพื่อป้องกันว่าหากการกระทำไม่สำเร็จ ทางรัฐบาลจะได้หาหลักฐานยาก จึงเป็นที่มาของการเรียกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า “รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม”

คณะรัฐประหารได้นำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ขึ้นเสนอผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อลงนามประกาศใช้ ซึ่งในสมัยนั้นสภาได้มีมติไว้ว่า การลงนามในหนังสือราชการ ผู้สำเร็จราชการจะต้องลงนามทั้ง 2 ท่าน แต่กรณีของรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มนี้มีผู้ลงนามประกาศใช้เพียงผู้เดียวคือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่พระยามานวราชเสวี ไม่ได้ลงนามร่วมด้วย ส่วนผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในครั้งนั้น คือ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทย



team-member

พลโท ผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหาร

team-member

พันเอก กาจ กาจสงคราม ผู้อำนวยการร่างรัฐธรรมนูญ

team-member

กรมขุนชัยนาทนเรนทร
ประธานผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติ

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่มมีบทบัญญัติเกี่ยวกับที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภา และสภาผู้แทน มีสมาชิกจำนวนเท่ากันทั้งสองสภา สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง โดยไม่ห้ามข้าราชการประจำ เป็นสมาชิกวุฒิสภา ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแบบรวมเขตเลือกตั้ง คือ ถือเอาเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และให้มีผู้แทน 1 คน ต่อจำนวนราษฎร 200,000 คน ทั้งนี้ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเพิ่มเติมโดยรัฐสภา ถึง 3 ครั้ง ก่อนได้รับการยกเลิกเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 เนื่องจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งสิ้น 1 ปี 4 เดือน 14 วัน

ข้อมูลจาก : รายการ ร้อยเรื่อง...เมืองไทย

ภาพประกอบจาก : wikipedia.org

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...