team-member


อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ความหมายและส่วนประกอบ


ซันวา สุดตา | 30 ธันวาคม 2563

... หลัก 6 ประการของคณะราษฎร อันเป็นนโยบายของคณะราษฎร ได้แก่ หลักเอกราช หลักความปลอดภัย หลักเศรษฐกิจ หลักเสมอภาค หลักเสรีภาพ และหลักการศึกษา ...

ปี พ.ศ. 2482 สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขึ้น เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศ ซึ่งอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้นตั้งอยู่กลางถนนราชดำเนินกลาง ตัดกับถนนดินสอ โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483

team-member

ส่วนประกอบของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย



ความหมายและส่วนประกอบของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

1. ปีกทั้ง 4 ด้านของอนุสาวรีย์ สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร รัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 มิถุนายน วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

2. ปืนใหญ่ 75 กระบอกโดยรอบ หมายถึง พ.ศ. 2475 ปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

3. ภาพดุนที่ฐานปีก หมายถึง ประวัติการดำเนินงานของ “คณะราษฎร” ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

4. พานรัฐธรรมนูญตั้งบนป้อมกลางสูง 3 เมตร หมายถึง เดือนที่ 3 คือเดือนมิถุนายน เดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เดิมการนับปีใหม่ เริ่มจากเดือนเมษายน เป็นเดือนที่ 1)

5. พระขรรค์ 6 เล่ม ประกอบบานประตูรอบป้อมกลาง หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร อันเป็นนโยบายของคณะราษฎร ได้แก่ หลักเอกราช หลักความปลอดภัย หลักเศรษฐกิจ หลักเสมอภาค หลักเสรีภาพ และหลักการศึกษา


ภาพดุนที่ฐานปีกและความหมาย จำนวน 4 ภาพ มีดังนี้

team-member

ภาพดุนที่ 1 ภาพการวางแผนเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร เป็นภาพชายในเครื่องแบบทหารและพลเรือนปรึกษาหารือกัน


team-member

ภาพดุนที่ 2 ภาพทหารของฝ่ายก่อการปฏิวัติ อาวุธยุทโปกรณ์ ม้า รถถังและปืน เคลื่อนพลเข้ายึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง


team-member

ภาพดุนที่ 3 ภาพการประกอบอาชีพของประชาชนชาวไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น ข้าราชการ เกษตรกร กรรมกร และการค้าขาย


team-member

ภาพดุนที่ 4 ภาพสังคมไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น การศึกษา ศาสนา เศรษฐกิจ อาชีพ การกีฬา และสังคมที่สงบสุขยุติธรรม


team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...