team-member





ภาพจิตรกรรมพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์


พิพิธภัณฑ์รัฐสภา   |   22 เมษายน 2564

“...ภาพจิตรกรรมนี้ จะเป็นถาวรวัตถุอนุสรณ์สำคัญ ก่อให้เกิดประโยชน์เอนกประการต่อการศึกษาและความเข้าใจอันดีของประชาชน ตลอดจนเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองอีกด้วย ทั้งยังเป็นพลังศรัทธาที่จะถวายความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์...”




ย้อนอดีตเมื่อวันที่ 4 - 30 เมษายน 2525 รัฐสภาได้จัดแสดงภาพจิตรกรรมแสดงพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ณ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยได้รับความร่วมมือจากคณะอนุกรรมการด้านพระมหากษัตริย์ ระดมจิตรกรที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศเป็นผู้วาดและมอบให้ไว้รัฐสภา ต่อมา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงได้นำภาพจิตรกรรมทั้งหมดไปจัดแสดงที่บริเวณผนังรอบห้องประชุมรัฐสภาชั้น 2 และชั้น 3 ณ อาคารรัฐสภา ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปี พ.ศ. 2561 เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้น้อมรำลึกนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระมหากษัตริย์ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฎร์



ที่มาแห่งอนุสรณ์สำคัญ

การจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะอนุกรรมการด้านพระมหากษัตริย์ได้อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการจัดโครงการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยมีคณะทำงานเฉพาะคณะนี้คณะหนึ่ง และยังได้แยกออกเป็นอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ อีกหลายฝ่าย เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดีและทันเวลากำหนดการเฉลิมฉลองในเดือนเมษายน 2525

การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมเริ่มต้นด้วยการแสวงหาข้อมูลจากประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ จำนวน 100 เรื่อง แล้วคัดเลือกไว้ 50 เรื่อง สำหรับสร้างสรรค์เป็นภาพจิตรกรรม จากนั้นได้เชิญจิตรกรทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่มาร่วมประชุมเพื่อเลือกสรรและมอบหมายให้เขียนภาพต่อไป ซึ่งเริ่มต้นจากการส่งภาพร่างประกอบสีให้อนุกรรมการฝ่ายต่างๆ พิจารณา จนเห็นสมควรแล้ว จึงมอบหมายให้เขียนภาพต่อไป



เรื่องราวในภาพจิตรกรรม

จากการคัดเลือกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ 50 เรื่อง เพื่อเขียนภาพนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในพระราชกรณียกิจที่ทรงมีต่อประเทศและพสกนิกรชาวไทย ภายหลังคณะอนุกรรมการด้านพระมหากษัตริย์ได้อนุมัติให้สร้างสรรค์ภาพเพิ่มเติมอีก 30 ภาพ เพื่อความสมบูรณ์ของพระราชกรณียกิจ

ภาพจิตรกรรมนี้ จะเป็นถาวรวัตถุอนุสรณ์สำคัญ ก่อให้เกิดประโยชน์เอนกประการต่อการศึกษาและความเข้าใจอันดีของประชาชน ตลอดจนเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมืองอีกด้วย ทั้งยังเป็นพลังศรัทธาที่จะถวายความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ เป็นการแสดงออกซึ่งกตัญญูกตเวทิกาคุณ รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงสร้างสรรค์บ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองและสถาพรปลอดภัยมาจนตราบเท่าทุกวันนี้





team-member

รัชกาลที่ 1
สร้างพระมหานครและพระบรมมหาราชวัง (พ.ศ. 2326)
จิตรกร : นายพิชัย นิรันดร์


team-member

รัชกาลที่ 2
ทรงสร้างสรรค์ทางด้านการปั้นและการแกะสลัก
จิตรกร : นายสมยศ ไตรเสนีย์




team-member

รัชกาลที่ 3
โปรดให้ตั้งชื่อกลองวินิจฉัยเภรี เพื่อให้ราษฎรมาตีกองร้องฎีกา
จิตรกร : นายปยุต เงากระจ่าง


team-member

รัชกาลที่ 4
ทรงจัดการทหารตามแบบอารยประเทศ
จิตรกร : นายเด่น จันทนโพธิ์




team-member

      รัชกาลที่ 5
เสด็จประเทศรัสเซีย ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับพระเจ้าชาร์ นิโคลาส ที่ 2
จิตรกร : นายสมบูรณ์สุข นิยมศิริ


team-member

รัชกาลที่ 6
ทรงสร้างธงไตรรงค์แทนธงชาติเดิม
จิตรกร : นายมณเฑียร บุญมา





team-member

รัชกาลที่ 7
เสด็จทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์
จิตรกร : นายสมทรง เวียงอำพล


team-member

รัชกาลที่ 8
เสด็จเยี่ยมราษฎรในสำเพ็ง
จิตรกร : นายวิฑูร โสแก้ว




team-member

รัชกาลที่ 9
ทรงแผ่พระเมตตาและทรงแนะนำให้ชาวเขาปลูกพืชอื่นแทนฝิ่น
จิตรกร : นายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์



team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...