team-member


งานประติมากรรมและงานศิลปกรรม ณ อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน


ซันวา สุดตา   |   22 เมษายน 2564

"... บริเวณภายในอาคารและภายนอกอาคาร ประดับตกแต่งด้วยงานประติมากรรมและงานศิลปกรรมที่มีความงดงาม สื่อความหมายและแสดงถึงพัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทยที่ควรค่าและบันทึกไว้..."

อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน ถือเป็นอาคารรัฐสภาแห่งที่สองของประเทศไทย ต่อจากพระที่นั่งอนันตสมาคม เปิดใช้เป็นสถานที่ประชุมสภาและที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 จนถึงปี พ.ศ. 2562 รวมระยะเวลาใช้งานกว่า 44 ปี อาคารรัฐสภาแห่งนี้ นอกจากเป็นที่ตั้งของห้องประชุมของทั้งสองสภาแล้ว บริเวณภายในอาคารและภายนอกอาคาร ยังประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมที่มีความงดงาม สื่อความหมายและแสดงถึงพัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทยที่ควรค่าและบันทึกไว้

1. ประติมากรรมลอยตัว

ผลงานทั้งหมดอยู่รายรอบอาคารรัฐสภา มี 2 ส่วน คือ

     1) ประติมากรรมโลหะรูปดอกไม้ทอง จำนวน 1 ชิ้น เป็นประติมากรรมโลหะทำด้วยเหล็กจากโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ สื่อถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยจากยุคเกษตรกรรมมาสู่อุตสาหกรรม
ดอกไม้ทองเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญเติบโตของระบอบการปกครองที่คาดว่าจะบรรลุเป้าหมายสูงสุด โดยการแสดงออกด้วยกลีบสุดท้ายที่สมบูรณ์และชูยอดสูงเด่น กลีบอื่น ๆ นั้นเตี้ยกว่าและไม่สมบูรณ์เท่า หมายถึง อุปสรรคของการพัฒนาระบอบการปกครองในอดีต

team-member

ประติมากรรมโลหะรูปดอกไม้ทอง



     2) ประติมากรรมหินอัด "ดิน น้ำ ลม ไฟ" จำนวน 4 ชิ้น
สื่อความหมายถึง "ความแข็งแกร่ง ความเจริญรุ่งเรือง ความสงบสุข และความมั่นคงของรัฐสภา"


team-member

ประติมากรรมรูปผู้หญิงยืนแบกหม้อน้ำ อยู่ทางขวา ด้านหน้าอาคารรัฐสภา 1 หมายถึง น้ำ


team-member

ประติมากรรมรูปผู้หญิงแบกท่อนไม้ อยู่ทางซ้าย ด้านหน้าอาคารรัฐสภา 1 หมายถึง ดิน


team-member

     ประติมากรรมรูปนก อยู่ทางขวา ด้านหลังอาคารรัฐสภา 1 หมายถึง ลม



team-member

ประติมากรรมนามธรรม อยู่ทางซ้าย ด้านหลังอาคารรัฐสภา 1 หมายถึง ไฟ



2. ศิลปกรรมภายในอาคารรัฐสภา

     1) ศิลปกรรมบนผนังบริเวณทางเข้าห้องฟังการประชุมสภาของประชาชน เป็นกลุ่มภาพที่บอกเล่าอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของไทย จากซ้ายมือ ประกอบด้วย

team-member





team-member

ภาพบ้านเมืองที่มีพื้นสีแดงเรื่อ หมายถึง
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อนที่จะใช้ตึกหลังนี้เป็นที่ประชุม



team-member

ภาพใบไม้งอกจากกิ่ง หมายถึง การเริ่มต้นใหม่ของความเจริญของประเทศ



team-member

ภาพยารักษาโรคมีเฉลวปักบนหม้อยาตามคติไทยแต่โบราณ หมายถึง ความสงบและการระงับกรณีพิพาท



team-member

ภาพวงล้อธรรมจักรและสัญลักษณ์ของศาสนาอื่น แสดงด้วยรูปกางเขนและเครือเถา ทั้งหมดนี้หมายถึง ธรรมประจำใจของประชาชนในชาติ



team-member

ภาพสัญลักษณ์ของการค้าและเศรษฐกิจ ทั้งหมดอยู่ในความเสมอภาคและความเป็นธรรม แสดงออกด้วยรูปซึ่งวางไว้บนแกนสมดุลแบบตาชั่งตุลาการ





team-member

ภาพรัฐธรรมนูญวางบนมัดของธัญพืช เป็นสัญลักษณ์ของสังคมและการกสิกรรมของไทย



team-member

ภาพพระอาทิตย์ส่องแสงเต็มดวง แสดงถึงความสามัคคีอันจะนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรือง



team-member

ภาพตัวอักษรจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ตัดตอนมาจากบรรทัดที่กล่าวว่า "พ่อขุนฯ ขับช้างเข้ากระทำการยุทธหัตถีกับขุนสามชน เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงอธิปไตยความเป็นไทย ความมั่นคงและการเตรียมป้องกันประเทศของชาวไทย"



     2) ศิลปกรรมบนผนังบริเวณทางขึ้น - ลงบันได เป็นงานศิลปะสื่อประสมที่แสดงความหวังของอนาคตของประเทศ

รูปเด็กในไข่ทอง หมายถึง ประชาชนรุ่นใหม่ของประเทศ บริเวณที่สร้างล้อมรอบรูปเด็กใช้สีที่รุ่งเรือง แสดงภาพพืชพันธุ์ไม้ที่แตกผลิออกรับแสงตะวันสีทองที่โปรยลงมา
รูปรังผึ้ง แสดงถึงความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งถ้าใช้ไม่เป็นก็จะสูญสิ้น
รูปปลาใหญ่กำลังอ้าปากจะกินอัญมณี แสดงถึงสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งกำลังถูกคุกคามจากภัยภายนอก หรือจากภัยอันเกิดจากการหลงผิด ที่เห็นว่าวัฒนธรรมของชาติไร้ค่า

team-member





3. งานศิลปกรรม ณ อาคารสโมสรรัฐสภา


     1) งานศิลปกรรมบนผนังภายนอกอาคารสโมสรรัฐสภา เป็นงานกระเบื้องดินเผาในรูปแบบศิลปะนามธรรม สื่อความหมายถึงความสนุกสนาน รื่นเริง หลังจากประสบความสำเร็จในการทำงานตามจุดประสงค์

team-member





     2) งานศิลปกรรมบนผนังภายในอาคารสโมสรรัฐสภา เป็นงานกระเบื้องดินเผาเขียนสีในรูปแบบศิลปะกึ่งนามธรรม ลักษณะมัดรวมของมวลพืชพันธุ์ต่าง ๆ หมายถึง ความสามัคคีของเหล่าสมาชิก ศัตรู คือ ปู (สัญลักษณ์ของ cancer) ซึ่งคอยทำลาย รออยู่ทางด้านขวามือ ทางซ้ายมือคือรูปของการแบ่งแยก อันเกิดจากการยุยงต่าง ๆ ซึ่งรอจังหวะที่จะทำการ ถ้าความสามัคคีของสมาชิกสิ้นสภาพลง

team-member



team-member







team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...