team-member




ชวเลขในสภา คุณค่าควรแก่การรักษา



ซันวา สุดตา   |   11 พฤศจิกายน 2564

“...การดำเนินงานของรัฐสภานั้น ชวเลข คือ หัวใจสำคัญของการประชุมรัฐสภา เพราะการจดชวเลขเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ทั้งในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา การประชุมร่วมกันของรัฐสภา คณะกรรมาธิการ คณะกรรมการ หรือการประชุมใดที่มีความจำเป็นต้องใช้ชวเลข...”


ชวเลข (Shorthand) เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะในการใช้สัญลักษณ์แทนตัวอักษร เพื่อให้จดรายงานบันทึกคำอภิปรายหรือรายละเอียดของถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุม และนำชวเลขมาแปลเป็นตัวอักษรภาษาไทยเพื่อจัดทำเป็นรายงาน ซึ่งรายงานดังกล่าว สามารถนำมาเป็นเอกสารอ้างอิงการทำงานหรือการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชาติที่ใช้อ้างอิงได้ในอนาคต


team-member


เจ้าหน้าที่ชวเลข หรือพนักงานชวเลขของสภาในอดีต มีหลักฐานปรากฏอ้างอิงได้จากหนังสือ “สี่สิบสองปีรัฐสภาไทย” ของนายประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 6 ซึ่งเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานในสภาผู้แทนราษฎรมาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้บรรจุเป็นข้าราชการในตำแหน่งพนักงานชวเลข ชั้นรองผู้รักษาการ ในสมัยนั้นเขียนไว้ในคำปรารภว่า
“...ตั้งแต่แรกเริ่มที่ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย สภาผู้แทนราษฎรเปิดประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในส่วนของผู้จดรายงานการประชุม ได้ยืมตัวหลวงชวเลขปรีชา และนายสิงห์ กลางวิสัย มาช่วยจดรายงานการประชุมเฉพาะวันประชุมสภา ต่อจากนั้นเมื่อตั้งกรมเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2476 จึงได้เริ่มบรรจุข้าราชการตำแหน่งพนักงานชวเลข ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในแผนกรายงานการประชุมกองการประชุม และในกองกรรมาธิการบ้างเพียงเล็กน้อย...”



team-member

นักชวเลขในยุค 2475 - 2500


ในปี พ.ศ. 2505 สมัยนายประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ เป็นเลขาธิการรัฐสภา และนายประหยัด แดงอินทวัฒน์ เป็นหัวหน้าแผนกรายงานการประชุม กองการประชุม ได้จัดให้มีการสอนวิชาชวเลขให้กับข้าราชการและผู้เข้าสมัครฝึกงานในสำนักงาน โดยให้นักชวเลขในแผนกนี้เป็นคณะอาจารย์ผู้ฝึกสอน และหนึ่งในอาจารย์ผู้สอนเป็นบุตรชายคนเดียวของหลวงชวลักษณ์ลิขิต คือ นายสุขันธ์ จิตรกถึก ซึ่งต่อมาเป็นหัวหน้าแผนกรายงานการประชุม

ในปี พ.ศ. 2517 นายประสิทธิ์ ศรีสุชาติ เป็นเลขาธิการรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ได้เห็นความสำคัญและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานชวเลข โดยได้รวบรวมพนักงานชวเลขซึ่งอยู่ในกองการประชุมและกองกรรมาธิการเข้าด้วยกัน โดยตั้งเป็น “ศูนย์ชวเลขและพิมพ์ดีด” มีภารกิจหน้าที่ด้านการจดและจัดทำรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา และคณะกรรมาธิการ มีนายธนู บุณยรังคะ เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ คนแรก และในปี พ.ศ. 2535 มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา โดยแยกเป็น 2 สำนักงาน คือ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของแต่ละสำนักงาน ประกอบด้วย กองและศูนย์ ขณะนั้นศูนย์ชวเลขและพิมพ์ดีด มีนายสินธุ์ชัย ซื่อสัตย์ดี เป็นผู้อำนวยการ สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


team-member


ต่อมาวันที่ 26 สิงหาคม 2545 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในใหม่ โดยนำฝ่ายรายงานการประชุมจากสำนักการประชุมเข้ารวมอยู่ในศูนย์ชวเลขและพิมพ์ดีด และเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักรายงานการประชุมและชวเลข” และยังคงใช้ตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่ชวเลข” และเมื่อได้ปรับระดับตำแหน่งและประเภทของสายงาน จึงเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่ชวเลข” มาเป็น “เจ้าพนักงานชวเลข” เพื่อให้รองรับภารกิจด้านรายงานการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาที่ชัดเจนมากขึ้น และเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) มีมติให้เปลี่ยนชื่อมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและระดับของ “เจ้าพนักงานชวเลข (ระดับปฏิบัติงาน-อาวุโส)” เป็นตำแหน่ง “เจ้าพนักงานจัดทำรายงานการประชุม (ระดับปฏิบัติงาน-อาวุโส)” โดยเจ้าพนักงานชวเลขที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน ให้ครองตำแหน่งเดิมจนกว่าจะเกษียณอายุราชการหรือพ้นจากตำแหน่ง แล้วจึงเปลี่ยนเป็นเจ้าพนักงานจัดทำรายงานการประชุม และกรณีตำแหน่งเจ้าพนักงานชวเลขว่างลง ให้เปลี่ยนเป็นเจ้าพนักงานจัดทำรายงานการประชุม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการสรรหาตำแหน่งเจ้าพนักงานชวเลขของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


team-member

สมุดจดชวเลขในปี พ.ศ. 2529


การดำเนินงานของรัฐสภานั้น ชวเลข คือ หัวใจสำคัญของการประชุมรัฐสภา เพราะการจดชวเลขเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ทั้งในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา การประชุมร่วมกันของรัฐสภา คณะกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือการประชุมใดที่มีความจำเป็นต้องใช้ชวเลข เป็นต้น เจ้าพนักงานชวเลข นอกจากการทำหน้าที่ในการจดบันทึกถ้อยคำของสมาชิกแต่ละคนที่อภิปรายด้วยภาษาชวเลขแล้ว การแก้ปัญหาในเหตุการณ์เฉพาะหน้า เช่น ห้องประชุมสภามีการบันทึกเหตุการณ์หน้าบัลลังก์ หรือเกิดเหตุขัดข้องในการใช้อุปกรณ์การบันทึกเสียงหรือไมโครโฟน เจ้าพนักงานชวเลขสามารถตอบประเด็นอภิปรายได้ทันที เพราะเจ้าพนักงานชวเลขได้จดถ้อยคำของผู้อภิปราย รวมทั้งจดจำรายละเอียดของเหตุการณ์ได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ประกอบกับเจ้าหนักงานชวเลขยังใช้เทคนิคส่วนบุคคลในการจำเสียงของผู้อภิปรายได้ โดยไม่ต้องเสียเวลามองว่าผู้อภิปรายนั้นเป็นใคร ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนแต่เกิดจากความสั่งสมประสบการณ์มาแล้วทั้งสิ้น แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพียงใด ก็ไม่สามารถปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวแทนเจ้าพนักงานชวเลขได้


ถือเป็นความภาคภูมิใจที่รัฐสภาไทยได้นำชวเลขมาใช้ตั้งแต่ต้น จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 89 ปี (28 มิถุนายน 2475 ถึงปี พ.ศ. 2564) แม้จะมองว่าเทคโนโลยีไม่อาจจะมาทดแทนชวเลขในงานลักษณะดังกล่าวได้ แต่จากกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์การสื่อสาร เพื่อรองรับความต้องการของมนุษย์อย่างมากมาย ในอนาคตอันใกล้ สิ่งเหล่านี้ก็อาจลดบทบาทของชวเลขลงได้ในที่สุด หากไม่ช่วยกันรักษาไว้ ภาษาชวเลขก็อาจจะสูญสิ้นไปจากรัฐสภา และจากประเทศไทย คงเป็นที่เสียดาย หากจะต้องปล่อยให้สูญหายไป โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย

 

team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...