team-member





สมุดไทย : ลักษณะเฉพาะของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย



ปัทมพร ทัศนา   |   14 กุมภาพันธ์ 2565

“...สมุดไทยหรือสมุดข่อย เป็นสมุดที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ไม่ได้มีการเย็บเล่มเหมือนหนังสือหรือสมุดในปัจจุบัน คือ เป็นหนังสือที่ใช้กระดาษยาวต่อกันเป็นแผ่นเดียวตลอดเล่ม...”


ในสมัยก่อนนั้น การเขียนตัวหนังสือไทย การจดบันทึกข้อความหรือเรื่องราวต่าง ๆ มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การเขียนในสมุดไทย เป็นการเขียนตัวหนังสือลงบนแผ่นกระดาษแผ่นยาวแผ่นเดียว พับซ้อนกลับไปกลับมาเป็นเล่ม แล้วเขียนหรือคัดไปทีละหน้า และอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การใช้โลหะแหลมจาร (การทำให้เป็นรอยลึก) ลงบนใบลาน แล้วผูกต่อกัน หรือเรียกว่า หนังสือใบลาน ซึ่งในการเขียนหนังสือโดยทั่ว ๆ ไปนั้น จะใช้การเขียนในสมุดไทย ส่วนการจารลงบนใบลาน มักจะใช้ในทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น พระไตรปิฎก เป็นต้น



team-member

การใช้โลหะแหลมจารลงบนใบลาน



team-member

หนังสือใบลาน



ทำความรู้จัก..สมุดไทย

สมุดไทยทำมาจากเปลือกไม้ชนิดต่าง ๆ ที่สามารถนำมาทำเป็นกระดาษได้ เช่น เปลือกปอ เปลือกสา เป็นต้น นำมาต่อเป็นแผ่นยาว ๆ พับไปมาลักษณะคล้ายผ้าจีบ ใช้สำหรับเขียนหรือชุบ (การใช้ปากกาหรือพู่กันจุ่มหมึกแล้วเขียนตัวอักษร) สามารถเขียนได้ทั้ง 2 ด้าน บางคนเรียกว่า สมุดข่อย เพราะส่วนมากทำมาจากเปลือกข่อย สมุดไทยโดยทั่วไปมี 2 สี คือ สีดำ เกิดจากการย้อมกระดาษเป็นสีดำ เรียกว่า หนังสือสมุดไทยดำ และสีขาว เป็นกระดาษธรรมชาติที่ไม่ได้ย้อมสีอะไร เรียกว่า หนังสือสมุดไทยขาว วัสดุที่ใช้เขียนมีหลายอย่าง ได้แก่ ดินสอขาวทำจากหินดินสอ ปากกาหรือปากไก่ทำจากไม้ หรือขนไก่เหลาแหลม บากให้มีร่องสำหรับให้น้ำหมึกไหล น้ำหมึกทำจากวัสดุธรรมชาติที่มีสีต่าง ๆ เช่น น้ำหมึกสีขาวได้จากเปลือกหอยมุก น้ำหมึกสีดำได้จากเขม่าไฟ น้ำหมึกสีเหลืองได้จากการผสมรง (ยางไม้ชนิดหนึ่งมีสีเหลือง) กับหรดาล (เป็นแร่มี 2 ชนิด คือ หรดาลแดงและหรดาลกลีบทอง โดยแร่ที่นำมาใช้เป็นน้ำหมึกสีเหลือง คือ หรดาลกลีบทอง) และน้ำหมึกสีทองได้จากทองคำเปลว เป็นต้น

สมุดไทยหรือสมุดข่อย เป็นสมุดที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ไม่ได้มีการเย็บเล่มเหมือนหนังสือหรือสมุดในปัจจุบัน คือ เป็นหนังสือที่ใช้กระดาษยาวต่อกันเป็นแผ่นเดียวตลอดเล่ม จะหนาหรือบางเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน สมุดไทยแต่ละเล่มไม่มีมาตรฐานในการกำหนดขนาดความกว้าง ความยาวของหน้ากระดาษ จำนวนหน้า และไม่มีเส้นบรรทัด ดังนั้น การเขียนหนังสือแต่ละครั้งจึงไม่จำกัดว่าหน้าหนึ่งจะมีจำนวนกี่บรรทัด



team-member

หนังสือสมุดไทยดำ
ภาพจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ www.nsm.or.th



team-member

หนังสือสมุดไทยขาว
ภาพจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ www.nsm.or.th



การเขียนรัฐธรรมนูญลงในสมุดไทย

การจัดทำบทบัญญัติรัฐธรรมนูญลงในสมุดไทยก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยตามธรรมเนียมประเพณีนั้น มีที่มาจากคำกล่าวของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยและประธานอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 ระหว่างการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ

"...ได้นำร่างรัฐธรรมนูญนี้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายทอดพระเนตร ทรงมีรับสั่งว่าเป็นที่พอพระทัย และได้ทรงแนะนำว่าการประกาศรัฐธรรมนูญนั้น เป็นของสำคัญที่ยิ่งใหญ่ ควรจะมีพิธีรีตอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้โหรหลวงหาฤกษ์ยาม...และโดยทรงเห็นว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นของที่ควรจะขลัง เพราะฉะนั้น ต้องการจะเขียนในสมุดไทย"

ดังนั้น ในการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญมาเขียนลงในสมุดไทยก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เป็นสิ่งที่ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย 1 ครั้ง ต้องจัดทำขึ้นเป็น 3 ฉบับ คือ ฉบับต้น 1 ฉบับ และคู่ฉบับ 2 ฉบับ เพื่อเก็บรักษาแยกกันตามธรรมเนียมโบราณ เผื่อหากบ้านเมืองประสบภัยสงคราม หรือฉบับใดฉบับหนึ่งเกิดสูญหายไป ก็จะมีฉบับที่เหลือไว้ให้สอบทานได้

รัฐธรรมนูญฉบับต้นจะประดับด้วยตราพระครุฑพ่าห์ทองคำที่ปกหน้า ส่วนคู่ฉบับอีก 2 ฉบับ จะมีตราพระครุฑพ่าห์เงินกะไหล่ทองหรือพระครุฑพ่าห์ครุฑทองชุบประดับที่ปกหน้าเช่นกัน แยกเก็บรักษาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักราชเลขาธิการ และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานละ 1 ฉบับ ซึ่งทั้ง 3 ฉบับจะมีข้อความและลายมือที่เขียนเหมือนกันทุกประการ



team-member

ดาวน์โหลดอินโฟกราฟิก



ดังนั้น ในการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญมาเขียนลงในสมุดไทยก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เป็นสิ่งที่ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย 1 ครั้ง ต้องจัดทำขึ้นเป็น 3 ฉบับ คือ ฉบับต้น 1 ฉบับ และคู่ฉบับ 2 ฉบับ เพื่อเก็บรักษาแยกกันตามธรรมเนียมโบราณ เผื่อหากบ้านเมืองประสบภัยสงคราม หรือฉบับใดฉบับหนึ่งเกิดสูญหายไป ก็จะมีฉบับที่เหลือไว้ให้สอบทานได้

รัฐธรรมนูญฉบับต้นจะประดับด้วยตราพระครุฑพ่าห์ทองคำที่ปกหน้า ส่วนคู่ฉบับอีก 2 ฉบับ จะมีตราพระครุฑพ่าห์เงินกะไหล่ทองหรือพระครุฑพ่าห์ครุฑทองชุบประดับที่ปกหน้าเช่นกัน แยกเก็บรักษาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักราชเลขาธิการ และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานละ 1 ฉบับ ซึ่งทั้ง 3 ฉบับจะมีข้อความและลายมือที่เขียนเหมือนกันทุกประการ



team-member

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ปีพุทธศักราช 2475



รัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยในปัจจุบัน

นับแต่มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยเป็นฉบับถาวรฉบับแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2475 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยยังคงถูกเขียนหรือที่เรียกว่า “ชุบ” ตามธรรมเนียมโบราณ โดยรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทยนั้น ทำด้วยกระดาษไฮเวท พับต่อเนื่องกันเป็นสมุดไทยที่มีขนาดความกว้าง 13.4 เซนติเมตร ยาว 45.5 เซนติเมตร เท่ากันทุกฉบับ แต่ความหนาของแต่ละฉบับจะต่างกัน ขึ้นอยู่กับบทบัญญัติหรือเนื้อหาของรัฐธรรมนูญนั้น



team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...