team-member





112 ปี วันสตรีสากล กับ 29 ปี ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย



ซันวา สุดตา   |   22 มีนาคม 2565

“...รัฐสภาไทยได้ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการสตรีสากล คือ การจัดตั้ง “ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย (Thai Women Parliamentarian)” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536...”



รู้หรือไม่ ?

ทุกวันที่ 8 มีนาคมเป็น “วันสตรีสากล” (International Women's Day หรือ IWD) ถือเป็นวันสำคัญของสตรีทั่วโลก ผู้หญิงจากทั่วโลกที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านจริยธรรม ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง จะได้มาร่วมเฉลิมฉลองถึงความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และในหลาย ๆ ประเทศยังกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดประจำปีอีกด้วย



team-member



team-member



ความเป็นมา

เริ่มขึ้นจากเหตุการณ์ในเมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก ที่ไม่ต่างอะไรจากทาส เพราะต้องทำงานหนักถึงวันละ 12-15 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใด ๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด ส่วนหญิงสาวที่ตั้งครรภ์มักจะถูกบีบบังคับให้ลาออก เพราะไม่สามารถทำงานได้ตามเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนด

ในที่สุด คลาร่า แซทคิน (Clara Zetkin) ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมัน ได้เป็นผู้นำลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชัวโมง พร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงานและให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั่วโลกมากมาย ส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน



team-member

ภาพจากวิกิมีเดีย https://commons.wikimedia.org



team-member

ภาพจากวิกิมีเดีย https://commons.wikimedia.org



3 ปีต่อมา ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 หรือปี พ.ศ. 2453 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีได้ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย ในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่า แซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล นับแต่นั้นมา คลาร่า แซทคิน ได้รับการขนานนามว่า “มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากลและเป็นผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล” ด้วย

จากวันนั้นมาถึงวันนี้ นับเป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษหรือ 112 ปีแล้ว ที่คนทั่วโลกถือให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันพิเศษสำหรับผู้หญิงที่เรียกว่า "วันสตรีสากล"

ปัจจุบัน วันสตรีสากลถือเป็นวันหยุดในหลายประเทศ เช่น รัสเซีย ผู้ชายจะมอบดอกไม้ให้กับหญิงคนรักและบรรดาเพื่อนร่วมงานของพวกเขา ส่วนจีน ผู้หญิงหลายคนได้รับสิทธิให้สามารถทำงานแค่ครึ่งวันได้ตามประกาศของทางการ และสหรัฐอเมริกา ถือว่าเดือนมีนาคมเป็นเดือนประวัติศาสตร์ของสตรี (Women's History Month) คำประกาศของประธานาธิบดีที่ออกทุกปีเป็นเกียรติแก่ความสำเร็จของสตรีชาวอเมริกัน จะเห็นได้ว่า วันสตรีสากลได้กลายมาเป็นวันที่จะเฉลิมฉลองถึงการมีส่วนรวมของบรรดาสุภาพสตรีในทุกภาคส่วน ซึ่งแตกต่างจากวันสตรีสากลในช่วงทศวรรษแรก ๆ ที่มีแนวคิดเพื่อการประท้วง และสร้างความตระหนักถึงความไม่เสมอภาคเท่านั้น



team-member

รัฐสภาไทยกับการสตรีสากล



รัฐสภาไทยกับการสตรีสากล

รัฐสภาไทยได้ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการสตรีสากล คือ การจัดตั้ง “ชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย” (Thai Women Parliamentarian) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยความร่วมมือระหว่างสุภาพสตรีที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา สังกัดงานกิจการรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter Parliamentary Affairs) ของรัฐสภา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างสมาชิกในกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของสตรีให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจ นอกจากชมรมฯ จะมีบทบาทตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ยังมีหน้าที่เสริมสร้างสัมพันธ์กับชมรมหรือองค์กรสมาชิกรัฐสภาสตรีในนานาประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสมาชิกรัฐสภาสตรีในสหภาพรัฐสภา (Inter Parliamentary Union : IPU) ซึ่งรัฐสภาไทยเป็นสมาชิกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันมีสมาชิก 173 ประเทศ



team-member

กิจกรรมเสริมสร้างสัมพันธ์กับชุมชน



team-member

กิจกรรมเสริมสร้างสัมพันธ์กับชุมชน



บทบาทของชมรมสมาชิกรัฐสภาสตรีไทย ในฐานะกิจการรัฐสภาต่างประเทศที่เกี่ยวกับสตรี ซึ่งได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมคือ การประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเซียน (General Assembly of the ASEAN Inter-Parliamentary Assembly) ผ่านการประชุมคณะกรรมาธิการด้านสมาชิกรัฐสภาสตรีของสมัชชารัฐสภาอาเซียน (WAIPA) โดยเฉพาะ 3 ครั้งล่าสุดที่ผ่านมา ประกอบด้วย

ครั้งที่ 40 (ระหว่างวันที่ 29-30 สิงหาคม 2562) ได้สนับสนุนให้สร้างความเข้มแข็งให้กับสตรีทุกวัย โดยให้ถือประเด็นเรื่องบทบาทของสตรีให้เป็น 1 ใน 3 เสาหลักที่ยั่งยืนของประชาคมอาเซียน อีกทั้งสนับสนุนและส่งเสริมบทบาทสตรี และสนับสนุนให้ลดช่องว่างในข้อกำหนดบางอย่างที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเพศในการเข้าถึงเทคโนโลยี

ครั้งที่ 41 (ระหว่างวันที่ 8-10 กันยายน 2563) ได้เน้นย้ำบทบาทของสมาชิกรัฐสภาสตรีของสมัชชารัฐสภาอาเซียน ในการเสริมสร้างศักยภาพของสตรี และในการตระหนักถึงความสำคัญของการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างรัฐสภาประเทศสมาชิก AIPA โดยเน้นถึงบทบาทของบุรุษในการส่งเสริมสิทธิสตรีและความเท่าเทียมกันทางเพศ ตระหนักถึงความไม่เท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในเรื่องการเข้าถึงตลาดแรงงาน การว่างงาน สภาพการทำงาน และรายได้ที่ยังคงมีอยู่

ล่าสุด ครั้งที่ 42 (ระหว่างวันที่ 23-25 สิงหาคม 2564) ได้สะท้อนถึงข้อตกลงร่วมกันของ AIPA และความพยายามอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและศักยภาพสตรี ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญดังกล่าวได้ถูกกำหนดไว้ในข้อบังคับของ AIPA เพื่อให้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์หลักของอาเซียน 2025 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal : SDG) ที่จะก้าวไปด้วยกันและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง



team-member

กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของสตรีให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการเมืองการปกครอง



team-member

จดหมายเหตุรัฐสภาไทย

เอกสารจดหมายเหตุของรัฐสภา มีความสำคัญในการเป็นหลักฐานทางกระบวนการนิติบัญญัติของชาติ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา เหตุการณ์สำคัญ และกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐสภา ...

team-member

ดุสิตธานี เมืองทดลองประชาธิปไตย

ดุสิตธานีถือกำเนิดที่พระราชวังสวนดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่พระราชวังพญาไท สิ่งก่อสร้างจำลองต่าง ๆ ในดุสิตธานีมีขนาดสูง 2-3 ฟุต เช่น ที่ทำการรัฐบาล บ้านเรือนราษฎร พระราชวัง ศาสนสถาน...

team-member

งานฉลองรัฐธรรมนูญ - มหกรรมที่ใหญ่ที่สุดแห่งยุค

เมื่อมี “งานพิธี” คือพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 แล้ว “งานฉลอง” ก็ตามมา...

team-member

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งมีความยาว 279 มาตรา นำมาเขียนในสมุดไทยได้ 419 หน้า หรือจำนวน 259 พับครึ่ง...

team-member

อาคารรัฐสภาไทย

รัฐสภาของประเทศไทยเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมให้ใช้เป็นที่ประชุมสภา...

team-member

รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม

“รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม” เป็นชื่อเรียก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ของประเทศไทยที่ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490...

team-member

ความเป็นมาของธงชาติไทย

ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย แสดงถึงเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย มีความหมายถึงความเป็นเอกราช สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์...

team-member

ลงเบี้ย

ลงเบี้ย คือ วิธีการออกเสียงลงคะแนนลับในอดีตวิธีหนึ่งในการประชุมสภา โดยให้สมาชิกสภานำเบี้ย สีต่าง ๆ ไปใส่ภาชนะที่จัดไว้ซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้หีบตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมแต่ละฉบับ...

team-member

กฎหมายตราสามดวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายของ “กฎหมายตราสามดวง” ว่าหมายถึง ประมวลกฎหมายโบราณของไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช...

team-member

การเปลี่ยนปีปฏิทินของประเทศไทย

ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณได้ถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี...

team-member

คณะราษฎร

“คณะราษฎร” คือ กลุ่มบุคคลผู้ดำเนินการปฏิวัติสยามเมื่อ พ.ศ. 2475 โดยยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม...

team-member

ตราพระราชลัญจกรบนรัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย

พระราชลัญจกร คือ พระตราสำหรับพระเจ้าแผ่นดินที่ใช้ประทับในเอกสารต่าง ๆ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยใช้ชาดซึ่งเป็นวัตถุสีแดงชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน สำหรับการประทับตรา...