คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่และอำนาจกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและมาตรการการป้องกันภัยธรรมชาติและสาธารณภัย การแจ้งเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ การฟื้นฟูหลังเกิดภัยธรรมชาติและสาธารณภัย การพัฒนามาตรการในการป้องกันภัยธรรมชาติและสาธารณภัย รวมทั้งติดตามการให้ความช่วยเหลือและดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยดังกล่าว
การดำเนินงานของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ได้พิจารณาในประเด็นสำคัญ อาทิ
1. การพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
2. การพิจารณาศึกษาการให้ความช่วยเหลือเยียวยาเด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. การพิจารณาศึกษาผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทยอย่างยั่งยืน
4. การพิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดชัยภูมิ
5. การพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะริมตลิ่ง การตื้นเขินของแม่น้ำและลำคลอง
6. การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันระเบิด
7. การพิจารณาปัญหาสารเคมีรั่วไหล หลังเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมของบริษัทแวกซ์ กาเน็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด
8. การพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยจากขยะที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
สรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ ประกอบด้วย
การประชุมเพื่อพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ จำนวน 96 ครั้ง โดยเชิญหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเข้าร่วมการประชุมกับคณะกรรมาธิการ
การจัดสัมมนาของคณะกรรมาธิการเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน จำนวน 45 ครั้ง การเดินทางไปศึกษาดูงานในประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาและแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน
จำนวน 49 ครั้ง การเดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ จำนวน 1 ครั้ง เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ พัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า
รวมทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาภัยพิบัติที่เคยเกิดขึ้น และการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะ
หลังเกิดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพขององค์กรที่เกี่ยวข้อง และการตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อราชการ จำนวน 7 คณะ
ซึ่งได้จัดทำรายงานการพิจารณาศึกษาที่ได้รับมติเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และนำเสนอข้อสังเกตหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อรัฐบาล เพื่อนำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
จำนวน 3 เรื่อง
จึงอาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติได้มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา
สร้างความตระหนักและเพิ่มพูนองค์ความรู้ในด้านการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัยให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง อันจะบังเกิดผลดีต่อราชการและประเทศชาติต่อไป
จากผลการวิเคราะห์ประเด็นที่พิจารณาในคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 พบว่า คณะกรรมาธิการได้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย
โดยมีประเด็นหลักที่แสดงให้เห็นถึงทิศทางและแนวโน้มการพิจารณาที่คณะกรรมาธิการให้ความสำคัญ 3 ลำดับแรก คือ
(1) การฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
(2) การมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชนในการบริหารจัดการภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
(3) การแจ้งเตือนภัยภัยธรรมชาติและสาธารณภัย ไปยังประชาชนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทั่วถึง
สำหรับประเด็นรองที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการ คือ การพัฒนามาตรการในการป้องกันภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
ทิศทางประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ควรพิจารณาในประเด็นหลักและประเด็นรองอย่างครบถ้วน พร้อมทั้งกระจายความถี่ของการพิจารณาอย่างสมดุล โดยมีข้อเสนอดังนี้
1. สถานการณ์การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัยในปัจจุบัน
1.1 สถานการณ์และสถิติภัยธรรมชาติและสาธารณภัยที่เกิดขึ้น
1.2 การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.3 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
2. แนวทางการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัยในอนาคต
2.1 การพัฒนามาตรการในการป้องกันภัยธรรมชาติและสาธารณภัยของหน่วยงานราชการ
2.2 การผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ในการป้องกันภัยธรรมชาติ
2.3 การพัฒนารูปแบบและวิธีการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติและสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณ