คณะกรรมาธิการการศึกษา

คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 - เดือน มีนาคม 2566 โดยมีหน้าที่และอำนาจกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา การพัฒนาการศึกษาของชาติ และการส่งเสริมวัฒนธรรมประชาธิปไตย รวมทั้งแนวทางการปรับฐานการเรียนรู้ของประชาชนสู่โลกยุคโลกาภิวัตน์

คณะกรรมาธิการการศึกษามีการตั้งคณะอนุกรรมาธิการ เพื่อพิจารณาปัญหาอันอยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการการศึกษา จำนวน 6 คณะ ได้แก่
1) คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา
2) คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3) คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาโครงสร้างพื้นฐานโรงเรียนและสวัสดิภาพผู้เรียน
4) คณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5) คณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาส
6) คณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดการศึกษาเอกชนทิศทางประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการการศึกษา

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการได้เดินทางไปจัดสัมมนาและศึกษาดูงานภายในประเทศ ซึ่งผลการดำเนินการดังที่กล่าวมานี้ ได้นำมารวบรวมและจัดทำเป็นรายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า และใช้เป็นเอกสารทางวิชาการประกอบการดำเนินงานตามภารกิจของคณะกรรมาธิการ

สรุปผลงานของคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ประกอบด้วย ผลงานการประชุมพิจารณาประเด็นต่าง ๆ จำนวน 91 ครั้ง ผลงานการศึกษาดูงาน 16 เรื่อง จำนวน 38 ครั้ง ผลงานการจัดสัมมนา 26 เรื่อง จำนวน 72 ครั้ง ผลงานการพิจารณาเรื่องร้องเรียนอันนำไปสู่การแก้ปัญหารวม 266 เรื่อง โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. ปัญหาการบริหารจัดการของโรงเรียนขนาดเล็ก
2. ปัญหาเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษา
3. ข้อเสนอแนะให้แก้ไขและปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....
4. ปัญหาการจัดกรศึกษาเอกชน
5. การขอให้ ก.ค.ศ. พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ
6. การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด

ทิศทางประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26

จากผลการวิเคราะห์ประเด็นที่พิจารณาในคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 พบว่า คณะกรรมาธิการ ได้ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่กำหนดไว้ โดยมีประเด็นที่คณะกรรมาธิการให้ความสำคัญในการพิจารณาที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งในด้าน
1. โครงสร้างการจัดการศึกษา
2. กระบวนการบริหารจัดการศึกษา
3. ครูและผู้บริหารการศึกษา
4. หลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น

ทิศทางประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 จึงควรพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ อย่างครบถ้วนและกระจายความถี่ของการพิจารณาอย่างสมดุล โดยมีข้อเสนอดังนี้
1. การพิจารณาศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษา
2. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. โครงสร้างพื้นฐานโรงเรียนและสวัสดิภาพผู้เรียน
4. แนวทางการพัฒนาและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5. ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาส
6. ปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดกาศึกษาเอกชน
7. ปัญหาการแต่งตั้งผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา และปัญหาความเหลื่อมล้ำของเงินเดือนอาจารย์ และพนักงานมหาวิทยาลัย
8. ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทย

คณะกรรมาธิการอื่นๆ